เปลี่ยนภาษา: English
ปริญญาโท
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
2. หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศหรือปริญญาตรี สาขาอื่นซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ
3. สำหรับผู้ที่ได้รับเข้าศึกษาและยังมีพื้นฐานทางสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ คณะกรรมการโครงการฯ อาจพิจารณาให้ผู้เข้าศึกษาต้องศึกษาเพิ่มเติมรายวิชาเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยไม่นับหน่วยกิต
เงื่อนไขอื่นๆ ในการสมัครสอบและการสอบ
ในการยื่นใบสมัคร มหาวิทยาลัยจะยังไม่รับหลักฐานแสดงการสำเร็จการศึกษา ดังนั้นผู้สมัครจะต้องตรวจสอบ และรับรองตนเองว่ามีคุณสมบัติตรงตามประกาศรับสมัคร และเงื่อนไขของผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 5 จริง ก่อนการขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษา หากตรวจสอบในภายหลัง พบว่าผู้สอบคัดเลือกรายใดมีคุณสมบัติไม่ตรงตามประกาศรับสมัคร จะถือว่าผู้นั้นขาดคุณสมบัติทันที
จำนวนหน่วยกิต:
แผน ก แบบ ก2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
1) หมวดวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
1.1 บังคับรวม 3 หน่วยกิต
1.2 บังคับเลือก 12 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวม 36 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:
- ในการศึกษาตลอดหลักสูตร 2 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิน 190,000 บาท
สถานที่ศึกษา:
ติดต่อหลักสูตร:
เจ้าหน้าที่หลักสูตรฯ
เจนจิรา ไทรนิ่มนวล
อีเมล : janjira25@staff.tu.ac.th
เบอร์โทร : 0-2564-4440-59 ต่อ 2715 ต่อ 105
http://www.cs.tu.ac.th/graduate.php
คำอธิบายหลักสูตร
1. ระบบการศึกษา
1.1 ระบบ
จัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาค โดยแบ่งเวลาศึกษาในปีหนึ่งๆ เป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่บังคับคือภาคหนึ่งและภาคสอง ภาคหนึ่ง ๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ และอาจเปิดภาคฤดูร้อนได้โดยใช้เวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ แต่ให้เพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชาให้เท่ากับภาคปกติ
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
อาจเปิดภาคฤดูร้อนได้ ตามความเหมาะสม
1.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดาเนินการหลักสูตร
2.1 วัน-เวลาในการดาเนินการเรียนการสอน
นอกวัน – เวลาราชการ
เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น.หรือเป็นไปตามการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. เป็นผู้สาเร็จการศึกษาไม่ต่ากว่าระดับปริญญาตรีในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ 2. หรือเป็นผู้สาเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาในหรือต่างประเทศหรือปริญญาตรีสาขาอื่นซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ 3. สาหรับผู้ที่ได้รับเข้าศึกษาและยังมีพื้นฐานทางสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอ คณะกรรมการโครงการฯ อาจพิจารณาให้ผู้เข้าศึกษาต้องศึกษาเพิ่มเติมรายวิชาเสริมพื้นฐานเกี่ยวกับสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยไม่นับหน่วยกิต
การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา 1. ผ่านการสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์ 2. ต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS (ผลทดสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร) 3. เงื่อนไขอื่นๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 13
2.3 กลยุทธ์ในการดาเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา/ข้อจากัดของนักศึกษาในข้อ 2.4
นักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษาจะต้องศึกษาวิชาเสริมพื้นฐานเพิ่มเติมหากพื้นฐานไม่เพียงพอ โครงการจะจัดตารางช่วงเวลาในวันอาทิตย์บ่ายและกาหนดให้เป็นช่วงเวลาที่ไว้สอนเนื้อหาบางอย่างเพิ่มเติม นอกจากนั้นนักศึกษาที่จะรับเข้าศึกษาจาเป็นต้องศึกษาวิชาระเบียบวิธีวิจัยในภาคการศึกษาแรก และศึกษาวิชาภาษาอังกฤษตั้งแต่ภาคการศึกษาแรก และสอบให้ได้ไม่ต่ากว่าเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนดก่อนสาเร็จการศึกษา
2.4 แผนการรับนักศึกษาและผู้สาเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี
ในแต่ละปีการศึกษาจะรับนักศึกษาปีการศึกษาละ 25 คน
หัวข้องานวิจัย
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
กลุ่ม 1 อาชีพในสายวิชาการและการวิจัย
1 นักวิจัย
2 นักวิชาการ
3 ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษา
กลุ่ม 2 อาชีพเกี่ยวกับการดูแลระบบและเครือข่าย
4 ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
5 ผู้ดูแลระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ
6 ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย
กลุ่ม 3 อาชีพการเป็นนักวิเคราะห์และผู้ให้คำปรึกษา
7 นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
8 สถาปนิกซอฟต์แวร์
9 ผู้ให้คำปรึกษาระบบงาน
กลุ่ม 4 อาชีพการเป็นนักพัฒนาโปรแกรม
10 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์
11 นักพัฒนาเว็บไซต์
12 นักพัฒนาแอพพลิเคชันบนเว็บ
กลุ่ม 5 อาชีพในสาขางานบันเทิง
13 นักพัฒนาเกม
14 แอนิเมเตอร์
กลุ่ม 6 อาชีพประกอบวิสาหกิจอิสระ
15 ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์
16 ผู้ประกอบธุรกิจบริการติดตั้งระบบ
17 ผู้ประกอบธุรกิจพัฒนาเนื้อหาบนอุปกรณ์พกพา
18 ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการการประมวลผลบนกลุ่มเมฆ
กลุ่ม 7 อาชีพทางด้านการรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์
19 วิศวกรความปลอดภัย
20 ผู้ให้คำปรึกษาและติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยของสารสนเทศ
กลุ่ม 8 อาชีพในการพัฒนาระบบอัจฉริยะแบบพกพา
21 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ควบคุมหุ่นยนต์
22 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบอัจริยะ
23 ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว
โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา
นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ
คณิตศาสตร์การเงินเป็นหลักสูตรที่เน้นการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการเงิน โดยปกติจะเป็นการวิเคราะห์ตลาด การกำหนดราคาและการวางแผนทางการเงิน
คำอธิบายหลักสูตร
“คณิตศาสตร์ทางการเงินมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งเน้นสร้างรากฐานที่มั่นคงในคณิตศาสตร์ทางการเงินซึ่งนำไปสู่อาชีพในภาคการเงินหรือเพื่อการฝึกอบรมด้านคณิตศาสตร์ทางการเงินขั้นสูงสำหรับปัญหาทางการเงินที่ซับซ้อน ” บนหลักวิชาทางคณิตศาสตร์ที่แข็งแกร่ง โดยมีวิชาหลักทางคณิตศาสตร์ ได้แก่ สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ พีชคณิตเชิงเส้น การวิเคราะห์คณิตศาสตร์ วิธีการเชิงตัวเลข พีชคณิตนามธรรมเบื้องต้น ฟังก์ชันตัวแปรเชิงซ้อน และมีวิชาด้านคณิตศาสตร์การเงิน ได้แก่ เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การบัญชีเบื้องต้น วิทยาการข้อมูลสำหรับคณิตศาสตร์การเงิน คณิตศาสตร์การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ คณิตศาสตร์การเงิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณทางการเงิน อนุพันธ์ทางการเงินเชิงคณิตศาสตร์
สโทแคสติกประยุกต์เบื้องต้น การวิเคราะห์อนุกรมเวลาทางการเงิน กำหนดการเชิงเส้น กำหนดการเชิงจำนวนเต็มและตัวแบบเครือข่าย ทฤษฎีเกม เทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุด เป็นต้น
การฝึกงานหรือสหกิจ
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือศึกษาต่อในสาขาคณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ คอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องต่างๆ ในสถาบันการศึกษา
ชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- ผู้แนะนำการลงทุน
- ผู้วางแผนการลงทุน
- นักวิเคราะห์การลงทุน
- วาณิชธนากร
- นักวิเคราะห์ความเสี่ยง
- งานด้านการประกันภัย
- นักลงทุนอิสระ
- ครู/อาจารย์
- นักวิจัยและนักวิชาการที่มีทักษะความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์การเงินในองค์กร
ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 133 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 97 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:
- ค่าหน่วยกิตละ 800 บาท
- ค่าธรรมเนียมพิเศษ 25,000 บาท
(เฉพาะภาคการศึกษาแรกของทุกปี)
สถานที่ศึกษา:
ติดต่อหลักสูตร:
098-561-8157
khae@mathstat.sci.tu.ac.th
http://math.sci.tu.ac.th
Mathstat TU
@mathstat_tu
mathstat_tu
Mathstat TU