เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาโท

สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค
(
เรียน เสาร์-อาทิตย์)

ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่งตั้ง

2) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยผลการสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร

3) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จำนวนหน่วยกิต:

แผน ก  แบบ ก  1
(ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
ศึกษารายวิชา (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36  หน่วยกิต

แผน ก  แบบ ก  2
(ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)
หน่วยกิตหมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 21,800 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  • 02 5644440 to 2300
  • SDTRT.staff@gmail.com
  • http://web.facebook.com/sdt.sci.tu/

คำอธิบายหลักสูตร

ปรัชญา ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในการวิเคราะห์ประเมิน ประยุกต์ใช้จัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรและภูมิปัญญาประชากร โดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่มาและความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมในการแข่งขันในระดับโลก มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในสร้างฐานการพัฒนาให้เข้มแข็งมาก การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้โดยขาดกระบวนการวิเคราะห์ ประเมิน ประยุกต์หรือบริหารจัดการอย่างเหมาะสมทำให้การพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพและขาดความยั่งยืน เกิดความสูญเปล่าตลอดจนผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวมเพื่อให้เกิดการวิจัย การพัฒนา การประยุกต์ใช้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและพื้นที่ รวมทั้งการตอบรับต่อเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันนำไปสู่การแก้ปัญหา จุดเด่นของหลักสูตรทำหน้าที่ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในการวิเคราะห์ ประเมิน ประยุกต์ใช้ จัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรและภูมิปัญญาประชากรและมีคุณภาพ มีความรู้ ประสบการณ์ สามารถดำเนินการวิจัย คิดค้นและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อบริบทของสังคมไทย สามารถปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชุมชนได้ตามความต้องการของประเทศ

สามารถผสมผสานความรู้สหวิชาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา จัดการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

หัวข้องานวิจัย

  • หัวข้อวิจัยด้านโยธา-การจัดการผังเมือง
  • หัวข้อวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรเกษตรและชุมชน
  • หัวข้อวิจัยด้านพลังงาน-สิ่งแวดล้อม
  • หัวข้อวิจัยด้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและโครงสร้างพื้นฐาน

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักพัฒนาชุมชน
  • นักวิจัย
  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • นักธุรกิจ/ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคม
  • ผู้จัดการโครงการหรือที่ปรึกษาโครงการ
  • อาจารย์
  • นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  • อาชีพอิสระ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

ปรัชญา ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในการวิเคราะห์ประเมิน ประยุกต์ใช้จัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรและภูมิปัญญาประชากร โดยคำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่มาและความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนการเกิดขึ้นของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอันเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ที่จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนทรัพยากรมนุษย์ในภูมิภาค ทำให้ประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับตัวและเตรียมพร้อมในการแข่งขันในระดับโลก มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพร่วมกับการใช้เทคโนโลยีในสร้างฐานการพัฒนาให้เข้มแข็งมาก การนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาใช้โดยขาดกระบวนการวิเคราะห์ ประเมิน ประยุกต์หรือบริหารจัดการอย่างเหมาะสมทำให้การพัฒนาไม่มีประสิทธิภาพและขาดความยั่งยืน เกิดความสูญเปล่าตลอดจนผลกระทบในเชิงลบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชากรโดยรวมเพื่อให้เกิดการวิจัย การพัฒนา การประยุกต์ใช้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนและพื้นที่ รวมทั้งการตอบรับต่อเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศที่ให้ความสำคัญกับการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนอันนำไปสู่การแก้ปัญหา จุดเด่นของหลักสูตรทำหน้าที่ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ในการวิเคราะห์ ประเมิน ประยุกต์ใช้ จัดการและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรและภูมิปัญญาประชากรและมีคุณภาพ มีความรู้ ประสบการณ์ สามารถดำเนินการวิจัย คิดค้นและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อบริบทของสังคมไทย สามารถปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชุมชนได้ตามความต้องการของประเทศ

สามารถผสมผสานความรู้สหวิชาการ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา จัดการและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการพัฒนาชุมชนได้อย่างยั่งยืน

หัวข้องานวิจัย

  • หัวข้อวิจัยด้านโยธา-การจัดการผังเมือง
  • หัวข้อวิจัยด้านการจัดการทรัพยากรเกษตรและชุมชน
  • หัวข้อวิจัยด้านพลังงาน-สิ่งแวดล้อม
  • หัวข้อวิจัยด้านสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและโครงสร้างพื้นฐาน

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักพัฒนาชุมชน
  • นักวิจัย
  • นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
  • นักธุรกิจ/ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคม
  • ผู้จัดการโครงการหรือที่ปรึกษาโครงการ
  • อาจารย์
  • นักวิชาการที่เกี่ยวข้อง
  • อาชีพอิสระ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค
(
เรียน เสาร์-อาทิตย์)

ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1) ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านการสอบข้อเขียน และการสอบสัมภาษณ์ โดยคณะกรรมการสอบที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แต่งตั้ง

2) ผู้เข้าศึกษาต้องส่งผลทดสอบภาษาอังกฤษ TU-GET หรือ TOEFL หรือ IELTS โดยผลการสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันสมัคร

3) เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ/หรือคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จำนวนหน่วยกิต:

แผน ก  แบบ ก  1
(ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์)
ศึกษารายวิชา (ไม่นับหน่วยกิตรวม)
6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 36  หน่วยกิต

แผน ก  แบบ ก  2
(ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)
หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)
หน่วยกิตหมวดวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับเลือก 3 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 21,800 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  • 02 5644440 to 2300
  • SDTRT.staff@gmail.com
  • http://web.facebook.com/sdt.sci.tu/