เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาตรี

สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Contact

วัสดุศาสตร์เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางโครงสร้าง การผลิต และสมบัติของวัสดุ นอกจากนี้วัสดุศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านวัสดุและนวัตกรรมด้าน วัสดุก่อสร้าง เซรามิก โลหะ แก้ว พอลิเมอร์ วัสดุทางการแพทย์ วัสดุนาโน อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรที่มีความรู้ความสามารถด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุเช่น เซรามิก พอลิเมอร์ วัสดุเชิงประกอบ และโลหะ มีความรู้ทางด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาวัสดุใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และในสถาบันอุดมศึกษา และสามารถศึกษาต่อระดับสูง

  • ปีการศึกษาที่ 1
  • นักศึกษาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์และภาษา รวมทั้งเริ่มเรียน วัสดุศาสตร์เบื้องต้น

  • ปีการศึกษาที่ 2
  • นักศึกษาเรียนพื้นฐานด้านกระบวนการผลิต โครงสร้าง และการใช้ประโยชน์วัสดุแต่ละด้าน รวมถึงปฏิบัติการด้านกระบวนการผลิต

  • ปีการศึกษาที่ 3
  • นักศึกษาได้เรียนวิชาสมบัติวัสดุและการหาลักษณะเฉพาะของวัสดุ และปฏิบัติการ รวมถึง การฝึกงาน ในภาคฤดูร้อน โดยนักศึกษาบางคนสามารถต่อยอดโจทย์วิจัยในโรงงานจากการฝึกงาน ภาคฤดูร้อนมาใช้เป็น โครงงานพิเศษทางวัสดุศาสตร์ ได้ในชั้นปีสุดท้ายของการเรียน

  • ปีการศึกษาที่ 4
  • เรียนวิชาโครงงานพิเศษทางวัสดุศาสตร์ ในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานให้คำแนะนำในการทำวิจัย การลงมือปฏิบัติ และการนำเสนอผลการดำเนินโครงงาน

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมวัสดุ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักวิจัย
  • อาชีพอิสระ
  • นักวิทยาศาสตร์
  • พนักงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจผู้ประกอบการ
  • พนักงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมของภาคเอกชน
พัฒนานวัตกรรมวัสดุก้าวไกล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชน
วัสดุศาสตร์เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางโครงสร้าง การผลิต และสมบัติของวัสดุ นอกจากนี้วัสดุศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านวัสดุและนวัตกรรมด้าน วัสดุก่อสร้าง เซรามิก โลหะ แก้ว พอลิเมอร์ วัสดุทางการแพทย์ วัสดุนาโน อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรที่มีความรู้ความสามารถด้านวัสดุศาสตร์และเทคโนโลยีของวัสดุเช่น เซรามิก พอลิเมอร์ วัสดุเชิงประกอบ และโลหะ มีความรู้ทางด้านกระบวนการผลิตและพัฒนาวัสดุใหม่ๆ และการประยุกต์ใช้วัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถปฏิบัติงานได้ทั้งในภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และในสถาบันอุดมศึกษา และสามารถศึกษาต่อระดับสูง

  • ปีการศึกษาที่ 1
  • นักศึกษาเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์และภาษา รวมทั้งเริ่มเรียน วัสดุศาสตร์เบื้องต้น

  • ปีการศึกษาที่ 2
  • นักศึกษาเรียนพื้นฐานด้านกระบวนการผลิต โครงสร้าง และการใช้ประโยชน์วัสดุแต่ละด้าน รวมถึงปฏิบัติการด้านกระบวนการผลิต

  • ปีการศึกษาที่ 3
  • นักศึกษาได้เรียนวิชาสมบัติวัสดุและการหาลักษณะเฉพาะของวัสดุ และปฏิบัติการ รวมถึง การฝึกงาน ในภาคฤดูร้อน โดยนักศึกษาบางคนสามารถต่อยอดโจทย์วิจัยในโรงงานจากการฝึกงาน ภาคฤดูร้อนมาใช้เป็น โครงงานพิเศษทางวัสดุศาสตร์ ได้ในชั้นปีสุดท้ายของการเรียน

  • ปีการศึกษาที่ 4
  • เรียนวิชาโครงงานพิเศษทางวัสดุศาสตร์ ในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานให้คำแนะนำในการทำวิจัย การลงมือปฏิบัติ และการนำเสนอผลการดำเนินโครงงาน

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมวัสดุ ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักวิจัย
  • อาชีพอิสระ
  • นักวิทยาศาสตร์
  • พนักงานราชการ หรือรัฐวิสาหกิจผู้ประกอบการ
  • พนักงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมของภาคเอกชน
พัฒนานวัตกรรมวัสดุก้าวไกล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนของประชาชน

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Contact