เปลี่ยนภาษา:  English

กัญจน์พิชชา บุญเรืองยศศิริ (กัน) สาขาวิชาเคมี ชั้นปีที่ 4

สุมนต์ วงษ์ศรี (นิว) สาขาวิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 4

นางสาวชุติมา เผือกสวัสดิ์ (เต็ม) สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นปีที่ 4

แสงรัศมี มีประวัติ (น้ำหวาน) สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ชั้นปีที 4

ดูเรื่องปันประสบการณ์เรียนรู้ทั้งหมด

สุมนต์ วงษ์ศรี (นิว) 

สาขาวิชาฟิสิกส์ ชั้นปีที่ 4
4 พฤษภาคม 2563

“การได้ลงมือปฎิบัติจริงช่วยให้เกิดความเข้าใจ และกลายเป็นความสนุก”

ตอนที่เข้ามาในรั้วมหาวิทยาลัยใหม่ๆ ผมรู้สึกว่าการเรียนค่อนข้างต่างจากตอนมัธยมอยู่พอสมควร เพราะมีทั้งการเรียนแบบบรรยายและแบบปฏิบัติ นอกจากนั้นทุกวิชายังมีความเชื่อมโยงกันหมด อย่างผมเรียนสาขาฟิสิกส์ ก็ต้องมีความรู้ด้านคณิตศาสตร์ควบคู่ไปด้วย โชคดีที่อาจารย์ที่ SCI-TU มีเทคนิคการสอนที่ดี โดยให้นักศึกษานำทฤษฎีจากที่เรียนมาลงมือทำแล็บจริง ช่วยให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจในสิ่งที่เรียนมากขึ้น จนรู้สึกว่าการเรียนวิทย์เป็นเรื่องสนุก
.
สำหรับหลายๆ คนที่คิดว่าเรียนวิทย์จะหนักจนไม่มีเวลา ขอบอกเลยว่าไม่จริง อย่างผมเองเป็นนักกิจกรรมตัวยงเลยก็ว่าได้ ทั้งไปช่วยถ่ายรูปให้สาขาจนเรียกได้ว่าเป็นช่างภาพประจำสาขาฟิสิกส์ไปแล้ว และยังได้มีโอกาสเป็นรองหัวหน้าฝ่ายช่างภาพชุมนุมเชียร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อถ่ายภาพประวัติศาสตร์ในงานฟุตบอลประเพณีฯ หรือจะเป็นการจัดกิจกรรม SCI Kids ที่เป็นการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไปช่วยสอนให้กับน้องๆ ระดับประถม เป็นต้น และด้วยความที่ธรรมศาสตร์เต็มไปด้วยเสรีภาพทุกตารางนิ้ว ทุกคนจึงสามารถเลือกทำกิจกรรมที่ชอบและแบ่งเวลาไปทำในสิ่งที่รักได้อย่างอิสระ
.
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่การเรียนวิทยาศาสตร์ให้กับผมคือ วิธีการ กระบวนการคิด วิธีการแก้ไขปัญหา หรือการคิดแบบมีตรรกะ มีเหตุผล ซึ่ง SCI-TU ไม่ได้เน้นแค่วิชาการ หรือมีดีแค่งานวิจัยในห้องปฏิบัติการเท่านั้น แต่ทุกอย่างสามารถนำไปสร้างสรรค์งานวิจัยสู่ประชาชนและชุมชนได้จริงอีกด้วย สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นพื้นฐานสำหรับทุกวิชาชีพ และจะเป็นทักษะความรู้ที่ติดตัวทุกคนอยู่ตลอดไป