Change Language:  ภาษาไทย

DOCTOR LEVEL PROGRAMS

Food Science and Technology

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา:  3 ปี หรือ 4 ปี (กรณีหลักสูตรโท-เอก ต่อเนื่อง)
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1) คุณสมบัติระดับการศึกษา
แบบ 1.1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (ในระดับสูงสุด 4.00) และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ

1.2 มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และ

1.3 มีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจากต้นสังกัด

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
2.1 แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (ในระดับสูงสุด 4.00)
2.2 แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 (ในระดับสูงสุด 4.00)

2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ
มีผลการสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-Based) 550 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Paper-Based) ไม่น้อยกว่า 550 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Computer-Based) ไม่น้อยกว่า 213 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Internet-Based) ไม่น้อยกว่า 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสอบให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 50 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ 8 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • แบบ 1.1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ภาคการศึกษาละ 24,800 บาท
  • แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
    สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 25,300 บาท
    สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 26,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

นางธนัชพร ดวงจันทร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ
tanut_saw@hotmail.com

& FAX: 02-564-4480-79 ต่อ 2550/2558

 malee_c@hotmail.com
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Website: https://envi.sci.tu.ac.th/phd-degree

 

 

Description

At present, food quality and safety are things everyone is concerned about. Thailand is a global food production hub which develops food technologies and innovations continuously. Therefore, the production of personnel with in-depth food science and technology knowledge can support changes for achieving sustainable development in the Thai food industry. Moreover, agroindustry personnel are currently insufficient to meet the growth of the country’s agroindustry, so graduate-level education and research programs in the country in food science and technology are essential and help to cut expenses in international studies.

Learning in the Doctor of Philosophy in Food Science and Technology is learner-oriented, and students can choose elective subjects from as many as 24 subjects to prepare and enhance their knowledge in preparing their thesis dissertations.

The program provides modern equipment, machinery and analysis tools such as high pressure processing, water spray retorts, spray dryers, and NIR spectroscopy along with a 15-member teaching staff to help students complete their thesis dissertations in topics of their interest. The Food Science and Technology program is equipped with a laboratory, a food industrial factory model and food processing tools along with various quality analysis tools and a sensory quality evaluation center. Moreover, the department conducts research in collaboration with agencies in the public and industrial sectors, such as the National Center for Genetic Engineering and Biotechnology, and even international academic and research institutions such as the University of Natural Resources and Life Sciences (BOKU), Vienna, Austria; The Institute of Sciences of Food Production (ISPA-CNR), Bari, Italy) and Anhui Agricultural University (AHAU), China.

Research Topics
Processing technology, development of products from cereal grains, fruits and vegetables, meats, fish, dairy; fermented foods, health foods, dry-baked technology, food packaging technology, food flavor technology, lipid chemistry, starch modification, mold extraction and applications, utilization of food industrial scraps and wastes, and food safety.
Target Occupations After Graduation
Professor in a university in the public or private sector, researcher in a public or private agency, food analyst, food product developer, marketer, production planner and controller, quality control and assurance employee, and worker in organizations involved in setting food standards.

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

การเรียนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นการเรียนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกที่มีความหลากหลาย ได้ถึง 24 รายวิชา เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม และเสริมความรู้ในการทำวิทยานิพนธ์

        สาขาวิชาฯ มีอุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือวิเคราะห์ที่ทันสมัย เช่น High Pressure Processing, Water spray retort, Spray dryer, NIR Spectroscopy และคณาจารย์ 15 ท่าน ที่พร้อมส่งเสริมวิทยานิพนธ์ในหัวข้อนักศึกษาสนใจได้ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีความพร้อมในห้องปฏิบัติการ โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต้นแบบ เครื่องมือแปรรูปอาหาร และ เครื่องมือวิเคราะห์คุณภาพทางด้านต่างๆ รวมถึงศูนย์ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส นอกจากนี้ยังมีการทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานทั้งในภาครัฐและอุตสาหกรรม เช่น ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และยังมีการทำวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัยในต่างประเทศ เช่น University of Natural Resources and Life Sciences, (BOKU) Vienna ประทสออสเตรีย The Institute of Sciences of Food Production (ISPA – CNR), Bari ประเทศอิตาลี่ และ Anhui Agricultural University (AHAU) ประเทศจีน

หัวข้องานวิจัย

เทคโนโลยีการแปรรูป และการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากธัญชาติ ผลไม้และผัก เนื้อสัตว์ ปลา นม อาหารหมัก และอาหารสร้างสุขภาพ  เทคโนโลยีการอบแห้ง  เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์อาหาร  เทคโนโลยีกลิ่นรสอาหาร  เคมีของลิปิด การดัดแปรแป้ง สารสกัดจากเชื้อราและการใช้ประโยชน์ การใช้ประโยชน์เศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหาร และความปลอดภัยในอาหาร

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน
  • นักวิจัย ในหน่วยงานราชการ และเอกชน
  • นักวิเคราะห์อาหาร
  • นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
  • นักการตลาด
  • พนักงานฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต
  • พนักงานฝ่ายควบคุมและประกันคุณภาพ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดมาตรฐานอาหาร

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา:  3 ปี หรือ 4 ปี (กรณีหลักสูตรโท-เอก ต่อเนื่อง)
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1) คุณสมบัติระดับการศึกษา
แบบ 1.1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
1.1 เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (ในระดับสูงสุด 4.00) และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ

1.2 มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และ

1.3 มีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร หรือ เป็นผู้ที่ได้รับทุนการศึกษาจากต้นสังกัด

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
2.1 แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญามหาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือหรือต่างประเทศจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (ในระดับสูงสุด 4.00)
2.2 แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาเอกของสาขาวิชาฯ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 (ในระดับสูงสุด 4.00)

2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ
มีผลการสอบภาษาอังกฤษ TU-GET (Paper-Based) 550 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Paper-Based) ไม่น้อยกว่า 550 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Computer-Based) ไม่น้อยกว่า 213 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (Internet-Based) ไม่น้อยกว่า 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา โดยมีเงื่อนไขว่าต้องสอบให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก่อนสอบป้องกันวิทยานิพนธ์

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา 4 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 50 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ 8 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก 6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • แบบ 1.1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ ภาคการศึกษาละ 24,800 บาท
  • แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
    สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 25,300 บาท
    สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 26,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

นางธนัชพร ดวงจันทร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ
tanut_saw@hotmail.com

& FAX: 02-564-4480-79 ต่อ 2550/2558

 malee_c@hotmail.com
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Website: https://envi.sci.tu.ac.th/phd-degree