Change Language:  ภาษาไทย

DOCTOR LEVEL PROGRAMS

Biological and Agricultural Technologies

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 3 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

แบบ 1.1
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ กรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5
2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ มีผลการสอบภาษาอังกฤษ

TU-GET (Paper-based) หรือ TOEFL – TIP 550 (Institutional Testing Program)
หรือ TU- GET (Paper based) คะแนน 550 ขึ้นไป
หรือ TU-GET (Computer based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ TOEFL (Internet-Based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป

โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา              3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์             48 หน่วยกิต

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 48 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 6 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก                  6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์              36 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า     12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์                48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 23, 800 บาท

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 25,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร: 02-564-4442-79 ต่อ 2452, 2463 หรือ 2351
มือถือ 085-4565-092
https://biot.sci.tu.ac.th/
https://agri.sci.tu.ac.th/

 

 

 

Description

Science and technologies currently play large roles in agriculture, food, health and industry. Due to limited availability of natural resources and intensifying technological competition, it is necessary to continuously develop biotechnology and agricultural knowledge in order to create products and economically-valuable innovations.

The Doctor of Philosophy in Biotechnology and Agriculture offers individual subject learning and research covering a variety of topics (the details are shown under Research Topics) to ensure modern and in-depth knowledge.

Research Topics
  • Classification and studies into plant biodiversity, plant tissue culture, development of DNA markers for plant strain improvement.
  • Production and application of seaweed and cyanobacteria as food, animal feed, nutritional supplements, biofertilizer, active biological ingredients in industrial biotechnological, agricultural and environmental work.
  • Sorting and classification of bacteria and utilization in the treatment of wastewater from textile-dyeing industrial factories.
  • Extraction of bioactive compounds from plants for creating cosmetics and developing delivery methods to human cells.
  • Studies and creation of biofilms of yeast and correlations with diseases.
  • Development of pharmaceutical products and cosmetics from fungi and molds.
  • Utilization of bio-information science in classifying and comparing the genetics of living beings and studies into the correlations and connections of various pathways, including the designing of medicines and utilization of bioactive compounds.
  • Promotion of plant growth and productivity through use of nutrients, plant adaptations under stress, economically valuable plant cultivation in an environmentally-controlled cultivation system.
  • Development of appropriate growing media for increasing the productivity of economically-valuable mushrooms.
  • Development of agricultural and industrial wastes into raw ingredients for animal feed.
  • Plant variety improvement for enhanced nutrition.
  • Enhancement of nutritional value and secondary substances in vegetables and herbs using seed technology and tissue culture.
  • Development of nutraceutical and bacterial products for use as nutritional supplements for non-ruminant animals.
  • Storage life extension of chicken meat and chicken eggs and functional packaging.
Target Occupations After Graduation
  • Professor in an academic institution
  • Researcher
  • Innovator
  • Strain improver
  • Scientist and academic in a research institution in the public sector or industrial sector
  • Biotechnology and agriculture entrepreneur or project or business consultant.

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และอุตสาหกรรม เนื่องจากการมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด รวมทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรเปิดสอนวิชารายวิชาและดำเนินงานวิจัยหลากหลายด้าน (รายละเอียดในหัวข้องานวิจัย) โดยให้ความรู้ที่ทันสมัย และแง่มุมเชิงลึก

หัวข้องานวิจัย

– การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
– การผลิตและประยุกต์ใช้สาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรียเป็นอาหาร อาหารสัตว์ อาหารเสริม ปุ๋ยชีวภาพ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในงานทางเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม
– การคัดแยกและการจัดจำแนกจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า
– การสกัดสาร Bioactive compound จากพืชเพื่อใช้ในการสร้างเวชสำอางและพัฒนารูปแบบการนำส่งเข้าสู่เซลล์มนุษย์
– การศึกษาการสร้าง biofilm ของยีสต์และความสัมพันธ์กับการก่อโรค
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยาและเวชสำอางจากเห็ดรา
– การใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการจัดกลุ่ม และเปรียบเทียบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงของ pathway ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบยาและการใช้ประโยชน์จากสาร bioactive compound
– ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชโดยการใช้ธาตุอาหาร การปรับตัวของพืชภายใต้สภาพความเครียด และการปลูกพืชเศรษฐกิจภายใต้ระบบปลูกพืชในสภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม
– พัฒนาวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตของเห็ดเศรษฐกิจ
– การพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์
– การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
– การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและสารทุติยภูมิในผักและสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชและจุลินทรีย์เพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว
– การยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพเนื้อไก่และไข่ไก่และบรรจุภัณฑ์เชิงหน้าที่

 

 

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา

  • นักวิจัย

  • นวัตกร

  • นักปรับปรุงพันธุ์

  • นักวิทยาศาสตร์

  • นักวิชาการตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการ และภาคอุตสาหกรรม

  • ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร และที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

แบบ 1.1
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ กรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5
2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ มีผลการสอบภาษาอังกฤษ

TU-GET (Paper-based) หรือ TOEFL – TIP 550 (Institutional Testing Program)
หรือ TU- GET (Paper based) คะแนน 550 ขึ้นไป
หรือ TU-GET (Computer based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ TOEFL (Internet-Based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป

โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา              3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์             48 หน่วยกิต

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 48 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 6 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก                  6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์              36 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า     12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์                48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 23, 800 บาท

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 25,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร: 02-564-4442-79 ต่อ 2452, 2463 หรือ 2351
มือถือ 085-4565-092
https://biot.sci.tu.ac.th/
https://agri.sci.tu.ac.th/