เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาเอก

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 3 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

แบบ 1.1
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ กรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5
2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ มีผลการสอบภาษาอังกฤษ

TU-GET (Paper-based) หรือ TOEFL – TIP 550 (Institutional Testing Program)
หรือ TU- GET (Paper based) คะแนน 550 ขึ้นไป
หรือ TU-GET (Computer based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ TOEFL (Internet-Based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป

โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา              3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์             48 หน่วยกิต

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 48 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 6 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก                  6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์              36 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า     12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์                48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 23, 800 บาท

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 25,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร: 02-564-4442-79 ต่อ 2452, 2463 หรือ 2351
มือถือ 085-4565-092
https://biot.sci.tu.ac.th/
https://agri.sci.tu.ac.th/

 

 

 

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และอุตสาหกรรม เนื่องจากการมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด รวมทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรเปิดสอนวิชารายวิชาและดำเนินงานวิจัยหลากหลายด้าน (รายละเอียดในหัวข้องานวิจัย) โดยให้ความรู้ที่ทันสมัย และแง่มุมเชิงลึก

หัวข้องานวิจัย

– การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
– การผลิตและประยุกต์ใช้สาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรียเป็นอาหาร อาหารสัตว์ อาหารเสริม ปุ๋ยชีวภาพ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในงานทางเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม
– การคัดแยกและการจัดจำแนกจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า
– การสกัดสาร Bioactive compound จากพืชเพื่อใช้ในการสร้างเวชสำอางและพัฒนารูปแบบการนำส่งเข้าสู่เซลล์มนุษย์
– การศึกษาการสร้าง biofilm ของยีสต์และความสัมพันธ์กับการก่อโรค
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยาและเวชสำอางจากเห็ดรา
– การใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการจัดกลุ่ม และเปรียบเทียบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงของ pathway ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบยาและการใช้ประโยชน์จากสาร bioactive compound
– ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชโดยการใช้ธาตุอาหาร การปรับตัวของพืชภายใต้สภาพความเครียด และการปลูกพืชเศรษฐกิจภายใต้ระบบปลูกพืชในสภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม
– พัฒนาวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตของเห็ดเศรษฐกิจ
– การพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์
– การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
– การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและสารทุติยภูมิในผักและสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชและจุลินทรีย์เพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว
– การยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพเนื้อไก่และไข่ไก่และบรรจุภัณฑ์เชิงหน้าที่

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา

  • นักวิจัย

  • นวัตกร

  • นักปรับปรุงพันธุ์

  • นักวิทยาศาสตร์

  • นักวิชาการตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการ และภาคอุตสาหกรรม

  • ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร และที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ และอุตสาหกรรม เนื่องจากการมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด รวมทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยีที่สูงขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมที่เพิ่มมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตรเปิดสอนวิชารายวิชาและดำเนินงานวิจัยหลากหลายด้าน (รายละเอียดในหัวข้องานวิจัย) โดยให้ความรู้ที่ทันสมัย และแง่มุมเชิงลึก

หัวข้องานวิจัย

– การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
– การผลิตและประยุกต์ใช้สาหร่ายและไซยาโนแบคทีเรียเป็นอาหาร อาหารสัตว์ อาหารเสริม ปุ๋ยชีวภาพ และสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในงานทางเทคโนโลยีชีวภาพด้านอุตสาหกรรม ด้านเกษตรกรรม และด้านสิ่งแวดล้อม
– การคัดแยกและการจัดจำแนกจุลินทรีย์และการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมผ้า
– การสกัดสาร Bioactive compound จากพืชเพื่อใช้ในการสร้างเวชสำอางและพัฒนารูปแบบการนำส่งเข้าสู่เซลล์มนุษย์
– การศึกษาการสร้าง biofilm ของยีสต์และความสัมพันธ์กับการก่อโรค
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยาและเวชสำอางจากเห็ดรา
– การใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการจัดกลุ่ม และเปรียบเทียบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงของ pathway ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบยาและการใช้ประโยชน์จากสาร bioactive compound
– ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชโดยการใช้ธาตุอาหาร การปรับตัวของพืชภายใต้สภาพความเครียด และการปลูกพืชเศรษฐกิจภายใต้ระบบปลูกพืชในสภาวะควบคุมสภาพแวดล้อม
– พัฒนาวัสดุเพาะที่เหมาะสมต่อการเพิ่มผลผลิตของเห็ดเศรษฐกิจ
– การพัฒนาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบอาหารสัตว์
– การปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร
– การเพิ่มคุณค่าทางอาหารและสารทุติยภูมิในผักและสมุนไพรด้วยเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ และเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
– การพัฒนาผลิตภัณฑ์โภชนเภสัชและจุลินทรีย์เพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหารสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว
– การยืดอายุการเก็บรักษาคุณภาพเนื้อไก่และไข่ไก่และบรรจุภัณฑ์เชิงหน้าที่

 

 

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ในสถาบันการศึกษา

  • นักวิจัย

  • นวัตกร

  • นักปรับปรุงพันธุ์

  • นักวิทยาศาสตร์

  • นักวิชาการตามสถาบันวิจัย หน่วยราชการ และภาคอุตสาหกรรม

  • ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีชีวภาพและเกษตร และที่ปรึกษาโครงการหรือธุรกิจ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

แบบ 1.1
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 และมีผลงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือ
ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 2 ปี และมีผลงานตีพิมพ์ในงานที่เกี่ยวข้องระดับนานาชาติในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 1 ฉบับ หรือได้รับคำรับรองจากหัวหน้า/ผู้บังคับบัญชา หรือเคยยื่น/ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

แบบ 2.1 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ กรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาโทสาขาวิชาอื่น ต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
แบบ 2.2 สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีการเกษตร หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งในหรือต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีสาขาวิชาอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอก และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5
2) คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ มีผลการสอบภาษาอังกฤษ

TU-GET (Paper-based) หรือ TOEFL – TIP 550 (Institutional Testing Program)
หรือ TU- GET (Paper based) คะแนน 550 ขึ้นไป
หรือ TU-GET (Computer based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ TOEFL (Internet-Based) 79 คะแนนขึ้นไป
หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไป

โดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ทดสอบจนถึงวันที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษา ในกรณีที่มีผลทดสอบภาษาอังกฤษไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดอาจได้รับการพิจารณารับเข้าศึกษา

จำนวนหน่วยกิต:

แบบ 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์
แบบ 1.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท
1) วิชาสัมมนา              3 หน่วยกิต (ไม่นับหน่วยกิต)
2) วิทยานิพนธ์             48 หน่วยกิต

แบบ 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์
แบบ 2.1 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาโท (รวม 48 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 6 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก                  6 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์              36 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จปริญญาตรี (รวม 73 หน่วยกิต)
1) วิชาบังคับ                 13 หน่วยกิต
2) วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า     12 หน่วยกิต
3) วิทยานิพนธ์                48 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาโท ภาคการศึกษาละ 23, 800 บาท

  • สำหรับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรี ภาคการศึกษาละ 25,500 บาท

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร: 02-564-4442-79 ต่อ 2452, 2463 หรือ 2351
มือถือ 085-4565-092
https://biot.sci.tu.ac.th/
https://agri.sci.tu.ac.th/