Change Language:  ภาษาไทย

master level programs

Human resources development and food product innovation

หลักสูตรภาษาไทย (ภาคค่ำ) ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือใกล้เคียงจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรองและต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ

2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งที่นอกเหนือจากข้อ 1 และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหาร ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ

3. กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีในสาขานั้นๆมาแล้วไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

    จำนวนหน่วยกิต:

    แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

    (1)วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ   13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก 12 หน่วยกิต(4) วิทยานิพนธ์ 12   หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง และนำวิทยานิพนธ์ที่พิมพ์และเย็บเล่มเรียบร้อยแล้ว มามอบให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบ- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer review) ก่อนการตีพิมพ์หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการฯ

    แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) 

    (1) วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ    13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก  18 หน่วยกิต(4) การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยการข้อเขียน และ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น – นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการนำเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง  – รายงานการค้นคว้าอิสระ หรือ ส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สามารถสืบค้นได้

    ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

    • 22,700 ต่อภาคการศึกษา

    สถานที่ศึกษา:

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

     โทร. 0-2564-4491 -95 ต่อ 2550

    • รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาศรี เทพรักษาอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร            โทร. 084-0751355

      https://sci.tu.ac.th/all-master-programs-th/

     

     

    Program description

    The Master of Science in Human Resources Development and Food Product Innovation program is a new graduate program aimed to support the Thailand 4.0 policy and involves collaboration between the Food Science and Technology Department of the Faculty of Science and Technology of Thammasat University and the Faculty of Human Resources of the National Institute of Development Administration (NIDA) to create a new strain of programs which focuses on having learners become developers of new product innovations who possess knowledge and competence in research and food product development with leadership-level communication skills, innovative thinking and understanding about human behaviors in order to create leader-level food innovators for the food processing industry in order to facilitate the development of innovative food products in line with customer needs and create sustainable value for society.

    Target Occupations After Graduation –

    A variety of occupations are possible in parts of the public and private sectors involved in the food industry such as the following:

    • Instructor at a public or private university.
    • Food product developer.
    • Food marketer.
    • Human resource development employee at a food innovation organization.