เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาโท

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติพื้นฐานทางการศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ หรือ เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ซึ่งในกรณีนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตรปริญญาโทของสาขาวิชาฯ

คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ
มีผลการสอบภาษาอังกฤษ TOEFL (paper-based) หรือ TOEFL-ITP (institutional testing program) หรือ TU-GET (paper-based) 550 คะแนน หรือ TU-GET (computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (internet-based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไปโดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี ย้อนหลังนับจากวันยื่นใบสมัคร

ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ยื่นผลทดสอบภาษาอังกฤษพร้อมการสมัคร สามารถได้รับการพิจารณาเข้าศึกษาได้ภายใต้เงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนด

 

จำนวนหน่วยกิต:

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 20,200 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

ประไพ เทียนเทพ
เจ้าหน้าที่ธุรการ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
อีเมล: prapai-l@tu.ac.th

ผศ.ดร.นิรมล ศากยวงศ์
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
อีเมล: niramol@tu.ac.th

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ อุตสาหกรรม และสิ่งเเวดล้อม เนื่องจากการมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด รวมทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยี ที่สูงขึ้น  จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เพิ่มมูลค่า และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความ สามารถมีทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยสามารถค้นคว้าหรือวิจัยหาองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสู่ชุมชน สร้างสังคมยั่งยืน 

หัวข้องานวิจัย

  • การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
  • การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแพลงตอนท์และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และการนำแพลงตอนท์และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินรวมถึงผลิตภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
  • การคัดแยกและการจัดจำแนกจุลินทรีย์จากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าและการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัด
  • การศึกษาการสร้าง biofilm ของยีสต์และความสัมพันธ์กับการก่อโรค
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยาและเวชสำอางจากเห็ดรา
  •  การใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการจัดกลุ่มและเปรียบเทียบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงของ pathwayต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบยาและการใช้ประโยชน์จากสาร bioactive compound
  • การสกัดสาร Bioactive compound จากพืชเพื่อใช้ในการสร้างเวชสำอางและพัฒนารูปแบบการนำส่งเข้าสู่เซลล์มนุษย์

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

  • อาจารย์
  • นักวิจัย
  • นวัตกร
  • นักวิชาการในสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
  • และยังสามารถเป็นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วย

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในด้านการเกษตร อาหาร สุขภาพ อุตสาหกรรม และสิ่งเเวดล้อม เนื่องจากการมีทรัพยากรธรรมชาติที่จำกัด รวมทั้งมีการแข่งขันทางเทคโนโลยี ที่สูงขึ้น  จำเป็นต้องพัฒนาองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม เพิ่มมูลค่า และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ

 หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ผลิตมหาบัณฑิตที่มีความรู้ความ สามารถมีทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่จำเป็นต่อการศึกษาค้นคว้าทางเทคโนโลยีชีวภาพ โดยสามารถค้นคว้าหรือวิจัยหาองค์ความรู้ใหม่และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพได้อย่างเหมาะสม  รวมทั้งมีคุณธรรมและจริยธรรม นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพสู่ชุมชน สร้างสังคมยั่งยืน 

หัวข้องานวิจัย

  • การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และการพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช
  • การจัดจำแนก ศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของแพลงตอนท์และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน และการนำแพลงตอนท์และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินรวมถึงผลิตภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ
  • การคัดแยกและการจัดจำแนกจุลินทรีย์จากน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมสีย้อมผ้าและการนำไปใช้ประโยชน์ในการบำบัด
  • การศึกษาการสร้าง biofilm ของยีสต์และความสัมพันธ์กับการก่อโรค
  • การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางยาและเวชสำอางจากเห็ดรา
  •  การใช้ชีวสารสนเทศศาสตร์ในการจัดกลุ่มและเปรียบเทียบพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงของ pathwayต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบยาและการใช้ประโยชน์จากสาร bioactive compound
  • การสกัดสาร Bioactive compound จากพืชเพื่อใช้ในการสร้างเวชสำอางและพัฒนารูปแบบการนำส่งเข้าสู่เซลล์มนุษย์

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

ผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้สามารถประกอบอาชีพที่หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

  • อาจารย์
  • นักวิจัย
  • นวัตกร
  • นักวิชาการในสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน
  • และยังสามารถเป็นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพอีกด้วย

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติพื้นฐานทางการศึกษา
เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ทั้งในหรือต่างประเทศ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ หรือ เป็นผู้สำเร็จปริญญาบัณฑิตสาขาวิชาอื่น ซึ่งในกรณีนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการหลักสูตรปริญญาโทของสาขาวิชาฯ

คุณสมบัติพื้นฐานทางภาษาอังกฤษ
มีผลการสอบภาษาอังกฤษ TOEFL (paper-based) หรือ TOEFL-ITP (institutional testing program) หรือ TU-GET (paper-based) 550 คะแนน หรือ TU-GET (computer-based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ TOEFL (internet-based) 79 คะแนนขึ้นไป หรือ IELTS ระดับ 6.5 ขึ้นไปโดยต้องเป็นผลการทดสอบภายใน 2 ปี ย้อนหลังนับจากวันยื่นใบสมัคร

ในกรณีที่ผู้สมัครไม่ยื่นผลทดสอบภาษาอังกฤษพร้อมการสมัคร สามารถได้รับการพิจารณาเข้าศึกษาได้ภายใต้เงื่อนไขที่หลักสูตรกำหนด

 

จำนวนหน่วยกิต:

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 20,200 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

ประไพ เทียนเทพ
เจ้าหน้าที่ธุรการ สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
อีเมล: prapai-l@tu.ac.th

ผศ.ดร.นิรมล ศากยวงศ์
ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
อีเมล: niramol@tu.ac.th