เปลี่ยนภาษา:  English

หน้ากากอนามัย THAMMASK FOR MED ช่วยสะท้อนน้ำ – ไม่ดูดซับความชื้น

“COOL TO TOUCH” บรรจุภัณฑ์เปลี่ยนโลก คว้า GOLD PRIZE นวัตกรรมนานาชาติ 2019

“เรือสำรวจขนาดพกพา” นวัตกรรมเรือบังคับวิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับวัดระดับความลึกท้องน้ำ

คณะวิทย์ มธ. โชว์นวัตกรรม “เครื่องวัดความหวานแบบพกพา” ช่วยตรวจความเข้มข้นของน้ำตาล เกลือ และแอลกอฮอล์ได้

วิทยาศาสตร์ฯ มธ. ชูผลงานเยาวชน “ไม้เท้าอัจฉริยะ” ช่วยผู้พิการทางสายตาเดินสะดวก บอกจุดอันตราย 3 ระยะ เตือนแบบเรียลไทม์

มธ. คิดค้นเทคโนโลยีแผนที่แบบเรียลไทม์ ที่ระบุพิกัดประสบภัยพิบัติจากโซเชียลมีเดียได้ ช่วยบรรเทาสาธารณภัย

“โฟมยางพารา” ดูดคราบน้ำมันหายพริบตาใน 3 วินาที

“Melmon ระบบควบคุมฟาร์มเมล่อนอัจฉริยะ” ราคา 9,000 บาท/ตร.ม ดูเรียลไทม์ผ่านแอพ

“A-B Block” นวัตกรรมแปรรูปตะกรันอะลูมิเนียมเป็นวัสดุตกแต่งอาคารรักษ์โลก

ดูผลงาน SCI + LIFE ทั้งหมด

“เรือสำรวจขนาดพกพา” นวัตกรรมเรือบังคับวิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับวัดระดับความลึกท้องน้ำ

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2563

“เรือสำรวจขนาดพกพา” นวัตกรรมเรือบังคับวิทยุพลังงานแสงอาทิตย์ สำหรับวัดระดับความลึกท้องน้ำ เพื่อคำนวณความสามารถของแม่น้ำหรือคูคลอง ในการรองรับปริมาณน้ำ และสามารถใช้งานกรณีเกิดอุทกภัยและกรณีฝนทิ้งช่วง พร้อมแสดงผลข้อมูลแบบเรียลไทม์ (Real Time) บนสมาร์ทโฟน 

โดยสามารถทำงานได้ต่อเนื่องกว่า 3 ชั่วโมง ในระยะทางควบคุม 500 เมตร มีค่าความผิดพลาดระดับความลึกโดยเฉลี่ย 3 เซนติเมตร ที่ระดับความลึกสูงสุดที่ได้ทดลองใช้งาน 20 เมตร ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว เป็นการบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่าง ระบบอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง (IoT: Internet of Things) และการจัดทำแผนที่ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เข้าด้วยกัน

 รศ.ดร.สุเพชร จิรขจรกุล รองคณบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่าสำหรับการทำงานของนวัตกรรมดังกล่าว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1. อุปกรณ์ระบบโซนาร์วัดความลึกจากผิวน้ำ พร้อมอุปกรณ์จีพีเอส (GPS) ที่ช่วยระบุตำแหน่งของเรือบังคับ 2. อุปกรณ์วัดค่าคุณภาพน้ำในระดับพื้นฐาน ได้แก่ ค่าอุณหภูมิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) และค่าออกซิเจนละลายในน้ำ (Dissolved Oxygen: DO) และ 3. อุปกรณ์ชุดอินเทอร์เน็ต ออฟ ธิง (IoT) เพื่อบันทึกค่า และส่งข้อมูลไปยัง Cloud Server โดย “การวัดระดับความลึกท้องน้ำ” ใช้อุปกรณ์ระบบโซนาร์ วัดความลึกจากท้องเรือลงไปถึงพื้นคลองหรือร่องน้ำ และสามารถแสดงผลข้อมูลเรียลไทม์บนสมาร์ทโฟน ทีมวิจัยสามารถประมวผลข้อมูลระยะความลึกที่ได้ มาเทียบกับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (Mean sea level) และจัดทำแผนที่ระดับความตื้น-ลึกของแหล่งน้ำใน ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับแบตเตอรี่ในระหว่างการสำรวจในแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มระยะเวลาการสำรวจได้นานขึ้น

 นอกจากนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากมิติ อาทิ การสำรวจคุณภาพน้ำ เพื่อทดสอบคุณภาพของน้ำว่า เหมาะแก่การใช้งานในภาคการเกษตรหรือไม่ การเป็นข้อมูลในการติดตามความตื้น-ลึกคูคลอง เพื่อวางแผนขุดลอกคูคลองรองรับปริมาณน้ำ แม้ในกรณีอุทกภัยสามารถใช้สำรวจพื้นที่น้ำท่วม และหาเส้นทางเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทีมวิจัยได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพบริเวณแหล่งน้ำในพื้นที่ตัวอย่าง จ.นครสวรรค์ และ จ.ปราจีนบุรี และสระเก็บน้ำในแปลงเกษตรทดลองของ มธ.

ทั้งนี้ นวัตกรรม “เรือสำรวจขนาดพกพา” เป็นผลงานวิจัยร่วมกับ ผศ.ดร.ธนิท เรืองรุ่งชัยกุล, ผศ.ดร.ธเนศ วีระศิริ และ อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. อยู่ระหว่างการยื่นจดอนุสิทธิบัตร และล่าสุด ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์เวทีนานาชาติ ครั้งที่ 46 (46 International Exhibition of Inventions of Geneva) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์