เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาเอก

สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 3 ปี
จำนวนรับเข้า: 4 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติ ดังนี้

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัย รับรองวิทยฐานะ ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (จากคะแนนเต็ม 4.00) หรือ

2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาแล้วไม่ น้อยกว่า 3 ปี หลังสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตโดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าหน่วยงาน

จำนวนหน่วยกิต:

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
แบบ 2.1 (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 3 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาบังคับเลือก 3 หน่วยกิต
4) หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
5) ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษา ยกเว้น กรณีผู้เข้าศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิตต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาอย่างน้อย 2 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติ

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 18,800 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

 นางธนัชพร ดวงจันทร์
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ
tanut_saw@hotmail.com

 นางณัฐคงคา ศิริธร
ตำแหน่ง ผู้ประสานงานหลักสูตรฯ
 natthakongka_s@sci.tu.ac.th

& FAX: 02-564-4480
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Website: https://envi.sci.tu.ac.th/phd-degree

 

 

คำอธิบายหลักสูตร

1. ปรัชญาของหลักสูตร
มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางทฤษฎีและการประยุกต์อันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมในระดับต่าง ๆ การขยายองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูงรวมไปถึงการแสวงหาความรู้ใหม่อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทุก ๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันกาล

2. ความสำคัญ
ปัจจุบันแนวโน้มในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะใช้ระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างองค์กรมากขึ้น โดยในองค์กรขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นผู้ปล่อยมลพิษ องค์กรควบคุมดูแล และ องค์กรที่ติดตามตรวจสอบ จะต้องมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ควบคุมระบบด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในองค์กรด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว ระบบการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจำเป็นต้องมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีการจัดการข้อมูล ระบบการจัดการข้อมูล รวมทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสามารถนำความรู้หลากสาขามาประยุกต์ใช้ในงานระบบการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
ตามที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) มาตั้งแต่ปี 2551 นั้นเราก็ยังคงปรัชญาเดิมเรื่อยมา โดยทิศทางการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมีทิศทางสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ คือ การวิจัยในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลมาจากการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการนำไปสู่เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อใช้เป็น กลยุทธ์ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน พึ่งตนเอง รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนโดยหลักการเศรษฐกิจพอเพียง สร้างงานวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและก้าวทันสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลมาจากการพัฒนาของโลกในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนา โดยใช้ฐานของความรู้จากการวิจัยและพัฒนานำไปสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสังคม และประเทศ อีกทั้งรู้เท่าทันด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ

หัวข้องานวิจัย

ตัวอย่างเช่น
– Influence of Chemical Fertilizer Application on Water Quality in Paddy Fields in Nang Harn, Sakon Nakhon Province, Thailand
Water Footprint Evaluation of Oryza sativa L. The Wang Pha District, Nan Province
– The Use of Organophosphate and Carbamate Pesticide on Paddy Field and Cholinesterase Level of Farmers in Sem Chuk District, Suphan Buri Province, Thailand.
– The Effects of Paraquat Used in Upland Rice and Maize Fields on Biomass of Attached Algae.
– Adsorption of Ammonia and Total Phosphorus in Surface Water Using Zeolite and Activated Carbon: Case Study of Chuat Man Canal, Samut Prakan.
– การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปริมาณรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงและคาร์โบไฮเดรตของไม้ป่าชายเลนแสมขาวแสมทะเล และชะครามในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
– จลศาสตร์การย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพซึ่งใช้แบคทีเรียที่คัดแยกจากบ่อบำบัดน้ำเสียของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์/นักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา
  • นักวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการควบคุมและตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  • พนักงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมบริษัทที่ให้คำปรึกษางานด้านสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฯลฯ
  • โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

    นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

    คำอธิบายหลักสูตร

    1. ปรัชญาของหลักสูตร
    มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิต ที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทั้งทางทฤษฎีและการประยุกต์อันเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมในระดับต่าง ๆ การขยายองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสูงรวมไปถึงการแสวงหาความรู้ใหม่อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาทุก ๆ ด้านเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันกาล

    2. ความสำคัญ
    ปัจจุบันแนวโน้มในการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจะใช้ระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกันระหว่างองค์กรมากขึ้น โดยในองค์กรขนาดใหญ่ที่เกี่ยวข้องด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นผู้ปล่อยมลพิษ องค์กรควบคุมดูแล และ องค์กรที่ติดตามตรวจสอบ จะต้องมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ ผู้จัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม และผู้ควบคุมระบบด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในองค์กรด้วย ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว ระบบการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจำเป็นต้องมีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีการจัดการข้อมูล ระบบการจัดการข้อมูล รวมทั้งความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสามารถนำความรู้หลากสาขามาประยุกต์ใช้ในงานระบบการจัดการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม
    ตามที่สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอน ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตร ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม) มาตั้งแต่ปี 2551 นั้นเราก็ยังคงปรัชญาเดิมเรื่อยมา โดยทิศทางการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมมีทิศทางสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ คือ การวิจัยในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลมาจากการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในการนำไปสู่เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป เพื่อใช้เป็น กลยุทธ์ ในการจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่เป้าหมายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน พึ่งตนเอง รวมทั้งการสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการสิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนโดยหลักการเศรษฐกิจพอเพียง สร้างงานวิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและก้าวทันสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลมาจากการพัฒนาของโลกในปัจจุบันและอนาคต นอกจากนี้ยังเน้นการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการวิจัยเพื่อพัฒนา โดยใช้ฐานของความรู้จากการวิจัยและพัฒนานำไปสร้างความรู้และนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานสังคม และประเทศ อีกทั้งรู้เท่าทันด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับนานาชาติ

    หัวข้องานวิจัย

    ตัวอย่างเช่น
    – Influence of Chemical Fertilizer Application on Water Quality in Paddy Fields in Nang Harn, Sakon Nakhon Province, Thailand
    Water Footprint Evaluation of Oryza sativa L. The Wang Pha District, Nan Province
    – The Use of Organophosphate and Carbamate Pesticide on Paddy Field and Cholinesterase Level of Farmers in Sem Chuk District, Suphan Buri Province, Thailand.
    – The Effects of Paraquat Used in Upland Rice and Maize Fields on Biomass of Attached Algae.
    – Adsorption of Ammonia and Total Phosphorus in Surface Water Using Zeolite and Activated Carbon: Case Study of Chuat Man Canal, Samut Prakan.
    – การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของปริมาณรงควัตถุที่ใช้ในการสังเคราะห์แสงและคาร์โบไฮเดรตของไม้ป่าชายเลนแสมขาวแสมทะเล และชะครามในพื้นที่ที่แตกต่างกัน
    – จลศาสตร์การย่อยสลายสารอินทรีย์และอนินทรีย์ในระบบกรองชีวภาพซึ่งใช้แบคทีเรียที่คัดแยกจากบ่อบำบัดน้ำเสียของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์/นักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษา
  • นักวิชาการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดการควบคุมและตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนกรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
  • พนักงานในบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนางานด้านสิ่งแวดล้อมบริษัทที่ให้คำปรึกษางานด้านสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม บริษัทเอกชน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฯลฯ
  • โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

    นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

    หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
    ระยะเวลา: 3 ปี
    จำนวนรับเข้า: 4 คน

    คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษาต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 22 และมีคุณสมบัติ ดังนี้

    1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศที่สภามหาวิทยาลัย รับรองวิทยฐานะ ด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 (จากคะแนนเต็ม 4.00) หรือ

    2) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากสถาบันการศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยรับรองวิทยฐานะ และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสิ่งแวดล้อมมาแล้วไม่ น้อยกว่า 3 ปี หลังสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตโดยมีหนังสือรับรองจากผู้บังคับบัญชา หรือหัวหน้าหน่วยงาน

    จำนวนหน่วยกิต:

    จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
    โครงสร้างหลักสูตร
    แบบ 2.1 (ศึกษารายวิชาและทำดุษฎีนิพนธ์)
    1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน (ไม่นับหน่วยกิตรวม) 3 หน่วยกิต
    2) หมวดวิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
    3) หมวดวิชาบังคับเลือก 3 หน่วยกิต
    4) หมวดวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
    5) ดุษฎีนิพนธ์ 36 หน่วยกิต
    เป็นหลักสูตรแบบศึกษาเต็มเวลา นักศึกษาต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตรอย่างน้อย 6 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษา ยกเว้น กรณีผู้เข้าศึกษาที่ขอเทียบโอนหน่วยกิตต้องใช้ระยะเวลาการศึกษาอย่างน้อย 2 ภาคการศึกษาปกติ และอย่างมากไม่เกิน 12 ภาคการศึกษาปกติ

    ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

    • 18,800 บาท / ภาคการศึกษา

    สถานที่ศึกษา:

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

     นางธนัชพร ดวงจันทร์
    ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ชำนาญการ
    tanut_saw@hotmail.com

     นางณัฐคงคา ศิริธร
    ตำแหน่ง ผู้ประสานงานหลักสูตรฯ
     natthakongka_s@sci.tu.ac.th

    & FAX: 02-564-4480
    สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    Website: https://envi.sci.tu.ac.th/phd-degree