เปลี่ยนภาษา: English
ปริญญาตรี
สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 75 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-564-4440-79 ต่อ 2350-2 หรือ 02-564-4488
https://agri.sci.tu.ac.th/
ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร ที่เน้นทางด้านเทคโนเลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ การจัดการดินและการอารักขาพืช โดยนักศึกษาจะได้รับความรู้ และสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนางานวิจัยทางด้านการเกษตร หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจทางการเกษตร ซึ่งหากเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร นักวิจัย อาจารย์ พนักงานในบริษัทเอกชนทางด้านการเกษตร รวมถึงเจ้าของกิจการด้านการเกษตร
คำอธิบายหลักสูตร
สาขาเทคโนโลยีการเกษตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ตามหลักวิชาการทางเทคโนโลยีการเกษตร โดยสามารถบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจทางการเกษตร และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการในการปฏิบัติงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และสามารถศึกษา วิจัย และพัฒนาความรู้ด้านเกษตรต่อไปได้
สาขาวิชามีรูปแบบการเรียนการสอน คือ พัฒนาแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการเกษตรด้วยวิชาโครงงาน ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 35 ของวิชาบังคับในสาขา) มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อฝึกทักษะทางการเกษตรกับต่างประเทศ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกวิชาสหกิจการศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการ และสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น โครงการแข่งขันกีฬาทักษะการเกษตร โครงการตลาดผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น
หลักสูตรประกอบด้วย 3 วิชาเอก ดังนี้
- เทคโนโลยีการผลิตพืช เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืช บรรจุภัณฑ์ผลิตผลทางการเกษตร ห่วงโซ่อุปทาน และ
โลจิสติกส์สินค้าทางการเกษตร เป็นต้น - เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เช่น นวัตกรรมและการผลิตปศุสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ นวัตกรรมอาหารสัตว์
และโภชนศาสตร์ มาตรฐานฟาร์มและการประกันคุณภาพผลิตผลจากสัตว์ การจัดการสุขภาพสัตว์และการใช้ยา การผสมเทียม พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง และสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น - การจัดการดินและการอารักขาพืช เช่น นวัตกรรมการจัดการดินและธาตุอาหารพืช โรคพืช และแมลงศัตรูพืช ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านโรคพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ระบบพยากรณ์
ศัตรูพืช แมลงและผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวและการส่งออก
การฝึกงานหรือสหกิจ
นักศึกษาจะได้รับการฝึกงานภาคสนาม 700 ชั่วโมง และสหกิจศึกษาในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 หรือสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ที่สถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สาขาพืชไร่/พืชสวน
- อารักขาพืช
- สัตวบาล/ สัตวศาสตร์
- สัตวแพทย์
- อุตสาหกรรมเกษตร
- สิ่งแวดล้อม
- เศรษฐศาสตร์เกษตร
- เทคโนโลยีชีวภาพ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- นักวิชาการเกษตร นักวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร ในภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ และภาคเอกชน เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเบทาโกร จำกัด บริษัทเจียไต๋ จำกัด บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัท เคโมกราฟ จำกัด เป็นต้น
- ครู/อาจารย์ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประกอบธุรกิจทางการเกษตร เช่น ธุรกิจผลิตพืชปลอดสารพิษ พืชอินทรีย์ ฟาร์มปศุสัตว์ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น สาขาพืชไร่ พืชสวน อารักขาพืช สัตวบาล สัตวแพทย์ อุตสาหกรรมเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์เกษตร บริหารธุรกิจการเกษตร
“สร้างนักเกษตรที่เชี่ยวชาญสายงานผลิตพืช-สัตว์ เกษตรอินทรีย์
มีฝึกงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้ประกอบการ
สมาร์ทฟาร์มเมอร์เก่งการตลาด ฉลาดใช้เทคโนโลยี”
ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร ที่เน้นทางด้านเทคโนเลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ การจัดการดินและการอารักขาพืช โดยนักศึกษาจะได้รับความรู้ และสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนางานวิจัยทางด้านการเกษตร หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจทางการเกษตร ซึ่งหากเรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร นักวิจัย อาจารย์ พนักงานในบริษัทเอกชนทางด้านการเกษตร รวมถึงเจ้าของกิจการด้านการเกษตร
คำอธิบายหลักสูตร
สาขาเทคโนโลยีการเกษตรมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ตามหลักวิชาการทางเทคโนโลยีการเกษตร โดยสามารถบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจทางการเกษตร และธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้สอดคล้องกับความต้องการในการปฏิบัติงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และสามารถศึกษา วิจัย และพัฒนาความรู้ด้านเกษตรต่อไปได้
สาขาวิชามีรูปแบบการเรียนการสอน คือ พัฒนาแนวคิดการสร้างนวัตกรรมการเกษตรด้วยวิชาโครงงาน ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการทางการเกษตร จัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนเป็นภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 35 ของวิชาบังคับในสาขา) มีโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเพื่อฝึกทักษะทางการเกษตรกับต่างประเทศ เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกวิชาสหกิจการศึกษา เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบการ และสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น โครงการแข่งขันกีฬาทักษะการเกษตร โครงการตลาดผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ เป็นต้น
หลักสูตรประกอบด้วย 3 วิชาเอก ดังนี้
- เทคโนโลยีการผลิตพืช เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืช บรรจุภัณฑ์ผลิตผลทางการเกษตร ห่วงโซ่อุปทาน และ
โลจิสติกส์สินค้าทางการเกษตร เป็นต้น - เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ เช่น นวัตกรรมและการผลิตปศุสัตว์ การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ นวัตกรรมอาหารสัตว์
และโภชนศาสตร์ มาตรฐานฟาร์มและการประกันคุณภาพผลิตผลจากสัตว์ การจัดการสุขภาพสัตว์และการใช้ยา การผสมเทียม พฤติกรรมของสัตว์เลี้ยง และสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น - การจัดการดินและการอารักขาพืช เช่น นวัตกรรมการจัดการดินและธาตุอาหารพืช โรคพืช และแมลงศัตรูพืช ความปลอดภัยทางชีวภาพด้านโรคพืชในระบบเกษตรอินทรีย์ การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี ระบบพยากรณ์
ศัตรูพืช แมลงและผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ โรคพืชหลังการเก็บเกี่ยวและการส่งออก
การฝึกงานหรือสหกิจ
นักศึกษาจะได้รับการฝึกงานภาคสนาม 700 ชั่วโมง และสหกิจศึกษาในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 หรือสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)
การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
สามารถศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ที่สถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
- สาขาพืชไร่/พืชสวน
- อารักขาพืช
- สัตวบาล/ สัตวศาสตร์
- สัตวแพทย์
- อุตสาหกรรมเกษตร
- สิ่งแวดล้อม
- เศรษฐศาสตร์เกษตร
- เทคโนโลยีชีวภาพ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
- นักวิชาการเกษตร นักวิจัย นักส่งเสริมการเกษตร ในภาครัฐ เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ และภาคเอกชน เช่น บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทเบทาโกร จำกัด บริษัทเจียไต๋ จำกัด บริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด บริษัท เคโมกราฟ จำกัด เป็นต้น
- ครู/อาจารย์ในสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
- ประกอบธุรกิจทางการเกษตร เช่น ธุรกิจผลิตพืชปลอดสารพิษ พืชอินทรีย์ ฟาร์มปศุสัตว์ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
- ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เช่น สาขาพืชไร่ พืชสวน อารักขาพืช สัตวบาล สัตวแพทย์ อุตสาหกรรมเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์เกษตร บริหารธุรกิจการเกษตร
“สร้างนักเกษตรที่เชี่ยวชาญสายงานผลิตพืช-สัตว์ เกษตรอินทรีย์
มีฝึกงานทั้งในและต่างประเทศ สร้างสรรค์นวัตกรรม ผู้ประกอบการ
สมาร์ทฟาร์มเมอร์เก่งการตลาด ฉลาดใช้เทคโนโลยี”
ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 75 คน
คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:
- ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิต:
- จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 138 หน่วยกิต
- วิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
ค่าเล่าเรียน:
- ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)
สถานที่ศึกษา:
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
ติดต่อหลักสูตร:
02-564-4440-79 ต่อ 2350-2 หรือ 02-564-4488
https://agri.sci.tu.ac.th/