เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาตรี

สาขาวิชาคณิตศาสตร์การจัดการ

ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 3.5 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    131 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            95 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ค่าหน่วยกิตละ 1,500 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมพิเศษ 17,500 บาท ต่อภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  089-0721185
  porntip@mathstat.sci.tu.ac.th
  http://math.sci.tu.ac.th
  IMMA Thammasat
 @mathstat_tu
 mathstat_tu
 Mathstat TU

เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานหลักการทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ เข้ากับกระบวนการทางด้านการจัดการ โดยเน้นประยุกต์การเรียนการสอนในทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์ จัดระบบ เชื่อมโยงข้อมูล วิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การจำลองสถานการณ์ การพยากรณ์ การวางแผนและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

คำอธิบายหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการประกอบด้วยเนื้อหาทั้งในเชิงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์และสถิติ เช่น แคลคูลัส สถิติ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็น เป็นต้น ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาและนำไปใช้ในสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ รวมทั้งหลักการสำคัญที่เน้นไปในแนวการวิจัยดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การจัดการ และการวางแผนระบบ การดำเนินการในเชิงปริมาณ และการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ด้านการจัดการ เช่น หลักการบริหารธุรกิจและการจัดการ การจัดการโลจิสติกส์ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในโครงการต่าง ๆ ปัญหาการจัดตารางการทำงาน การบริหารการผลิตและขั้นตอนการผลิต การจำลองกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น

นอกจากนี้หลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการมีทุนเรียนดีและทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมตลอดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดี

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ผู้ที่เรียนจบในหลักสูตรนี้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตร Master of Engineering Program in Logistics and Supply Chain Systems Engineering (หลักสูตรนานาชาติ) ของสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โดยใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตรเพียง 1.5 ปี หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • สายงานด้านโลจิสติกส์: งานด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานในภาคการขนส่งหรือสายการบิน
  • สายงานด้านอุตสาหกรรม: การวิเคราะห์และจัดระบบการผลิต การจัดการกระบวนการดำเนินงาน
  • สายงานด้านบริการ: การจัดการโครงข่ายการสื่อสารข้อมูล การจัดตารางการทำงานของการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น การจัดตารางการทำงานของลูกเรือในสายการบิน การจัดตารางการหมุนเวียนของคนงาน เป็นต้น
  • สายงานด้านการจัดการข้อมูล: การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • สายงานธุรกิจด้านการเงิน: การวิเคราะห์งบประมาณ การจัดการรายได้ การวิเคราะห์การลงทุน
  • สายงานด้านวิชาการ: งานวิชาการ งานวิจัยในแผนกการวางแผนและพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
วิเคราะห์ได้ วางแผนเป็น ชัดเจนการตัดสินใจ มีอยู่ใน IMMA TU

เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานหลักการทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ เข้ากับกระบวนการทางด้านการจัดการ โดยเน้นประยุกต์การเรียนการสอนในทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์ จัดระบบ เชื่อมโยงข้อมูล วิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การจำลองสถานการณ์ การพยากรณ์ การวางแผนและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

คำอธิบายหลักสูตร

รายวิชาในหลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการประกอบด้วยเนื้อหาทั้งในเชิงทฤษฎีทางคณิตศาสตร์และสถิติ เช่น แคลคูลัส สถิติ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็น เป็นต้น ซึ่งเป็นรากฐานในการศึกษาและนำไปใช้ในสาขาวิชาอื่น ๆ ได้ รวมทั้งหลักการสำคัญที่เน้นไปในแนวการวิจัยดำเนินงาน ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ การจัดการ และการวางแผนระบบ การดำเนินการในเชิงปริมาณ และการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ด้านการจัดการ เช่น หลักการบริหารธุรกิจและการจัดการ การจัดการโลจิสติกส์ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนในโครงการต่าง ๆ ปัญหาการจัดตารางการทำงาน การบริหารการผลิตและขั้นตอนการผลิต การจำลองกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น

นอกจากนี้หลักสูตรคณิตศาสตร์การจัดการมีทุนเรียนดีและทุนสนับสนุนค่าธรรมเนียมตลอดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีผลการเรียนดี

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

ผู้ที่เรียนจบในหลักสูตรนี้สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในหลักสูตร Master of Engineering Program in Logistics and Supply Chain Systems Engineering (หลักสูตรนานาชาติ) ของสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โดยใช้เวลาศึกษาตามหลักสูตรเพียง 1.5 ปี หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • สายงานด้านโลจิสติกส์: งานด้านโลจิสติกส์ และโซ่อุปทานในภาคการขนส่งหรือสายการบิน
  • สายงานด้านอุตสาหกรรม: การวิเคราะห์และจัดระบบการผลิต การจัดการกระบวนการดำเนินงาน
  • สายงานด้านบริการ: การจัดการโครงข่ายการสื่อสารข้อมูล การจัดตารางการทำงานของการดำเนินงานในองค์กรต่าง ๆ เช่น การจัดตารางการทำงานของลูกเรือในสายการบิน การจัดตารางการหมุนเวียนของคนงาน เป็นต้น
  • สายงานด้านการจัดการข้อมูล: การวิเคราะห์ข้อมูล การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ
  • สายงานธุรกิจด้านการเงิน: การวิเคราะห์งบประมาณ การจัดการรายได้ การวิเคราะห์การลงทุน
  • สายงานด้านวิชาการ: งานวิชาการ งานวิจัยในแผนกการวางแผนและพัฒนาของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
วิเคราะห์ได้ วางแผนเป็น ชัดเจนการตัดสินใจ มีอยู่ใน IMMA TU

ภาษาไทย ภาคพิเศษ
ระยะเวลา: 3.5 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สาเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาทางคณิตศาสตร์รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมภาษาอังกฤษรวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต GPAX ไม่ต่ากว่า 2.75

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    131 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            95 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ค่าหน่วยกิตละ 1,500 บาท 
  • ค่าธรรมเนียมพิเศษ 17,500 บาท ต่อภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  089-0721185
  porntip@mathstat.sci.tu.ac.th
  http://math.sci.tu.ac.th
  IMMA Thammasat
 @mathstat_tu
 mathstat_tu
 Mathstat TU