เปลี่ยนภาษา:  English

นางสาวดาริกา อวะภาค นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ Department for Agrobiotechnology (IFA-Tulln), University of Natural Resources and Life Sciences, Vienna, ประเทศออสเตรีย

นางสาวปาริชาต ภัทรพานิชชัย นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ University of Regina ประเทศแคนาดา

ว่าที่ ร.ท. เฉลิมรัช นนทะภา นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ York University ประเทศแคนาดา

นายปริญญา บุญเอี่ยม นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น

นายเอกรินทร์ จ่าเมือง นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น

ดูบันทึกจากนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้งหมด

นางสาวดาริกา อวะภาค นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ Department for Agrobiotechnology (IFA-Tulln), University of Natural Resources and Life Sciences, Vienna, ประเทศออสเตรีย

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562

นางสาวดาริกา อวะภาค นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ Department for Agrobiotechnology (IFA-Tulln), University of Natural Resources and Life Sciences, Vienna, ประเทศออสเตรีย

สวัสดีค่ะ นางสาวดาริกา อวะภาค นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับสารพิษจากเชื้อรา โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อวันวี เพชรคงแก้ว หรืออาจารย์ส้ม เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ งานในส่วนของ Multiple mycotoxin analysis ได้รับการสนับสนุนจาก Univ.Prof. Dipl.-Ing. Dr.techn. Rudolf Krska หรือ Rudi ซึ่งเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมและเป็น Head of the Center for Analytical Chemistry, Department for Agrobiotechnology (IFATulln), University of Natural Resources and Life Sciences, Vienna ทำให้เรามีโอกาสได้เดินทางไปทำวิจัยที่ IFATulln 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และช่วงที่ 2 เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 โดยทั้ง 2 ช่วงที่ไปทำวิจัย จะอยู่ภายใต้การดูแลของ Dr. Michael Sulyok หรือ Michi ที่ดูแลรับผิดชอบในส่วนของ Multiple mycotoxin analysis

ในช่วงแรกที่เดินทางไปทำวิจัยที่  IFATulln เป็นเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูใบไม้ร่วง อากาศค่อนข้างหนาว จึงเลือกพักที่หอพักของมหาวิทยาลัยที่ Tulln เพื่อให้เดินทางไปทำวิจัยได้สะดวก วันแรกที่ไปถึงจะต้องเข้าไปที่ IFA เลย เพื่อนำตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ไปเก็บ หลังจากเก็บตัวอย่างเรียบร้อยแล้ว Michi ให้ Brigitte ซึ่งเป็น Staff ที่แลปขับรถไปส่งเพื่อไปเอากุญแจห้องพักในตัวเมือง Tulln หลังจากเอากุญแจแล้ว Brigritte จึงขับรถพาชมเมืองและแนะนำสถานที่ต่าง ๆ ในเมือง ก่อนเอาของไปเก็บที่หอพัก Tulln เป็นเมืองเล็ก ๆ ค่อนข้างเงียบ โซนที่พักไม่ได้อยู่ในตัวเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 15 กิโลเมตร

วันถัดมาเรามีนัดคุยกับ Michi เรื่องงานวิจัยที่จะทำในช่วงแรกที่มาและวางแผนการทำวิจัยร่วมกัน การทำวิจัยที่นี่หลัก ๆ เป็นการวิเคราะห์สารพิษจากเชื้อราในตัวอย่าง โดยมีการเตรียมตัวอย่างก่อนที่จะนำไปวิเคราะห์โดยเครื่อง LCMS/MS ดังนั้น Michi จึงให้เรานั่งทำงานในห้องแลปที่ใช้ในการเตรียมตัวอย่างซึ่งเป็น Organic chemistry laboratory และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เราใช้ 1 เครื่อง เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในห้องแลปมี Brigritte และ Armin ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่ช่วยงานของ Michi ช่วยดูแลและให้ความช่วยเหลือเราในเรื่องของสารเคมี เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่จะใช้ ทำให้ตลอดระยะเวลาการทำวิจัยในครั้งนี้ไม่มีปัญหาอะไร และเสร็จตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้  ช่วงสัปดาห์สุดท้ายที่งานเสร็จแล้ว เรามีโอกาสได้เข้าไปเที่ยวในเวียนนาก่อนที่จะกลับประเทศไทยเพื่อเก็บตัวอย่างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562  และกลับไปทำวิจัยอีกครั้งในเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562

ช่วงที่ 2 ที่ไปเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ อากาศดี ไม่หนาวมาก รอบนี้เลยเลือกที่จะพักในเวียนนา หอพักที่ได้อยู่ที่ Simmering ซึ่งค่อนข้างไกลจากสถานีรถไฟ Heiligenstadt ที่เราขึ้นรถไฟเพื่อไปทำวิจัยที่ IFATulln ตอนแรกค่อนข้างกังวลเรื่องการเดินทางเนื่องจากต้องต่อรถไฟหลายครั้ง แต่อาจารย์ส้มแนะนำ Application ของ ÖBB เพื่อใช้ดูตารางเวลาของรถไฟแต่ละสายที่จะต้องขึ้น ทำให้สามารถวางแผนการเดินทางได้ พอมาถึงเราก็เลยไม่มีปัญหาในการเดินทางไป-กลับระหว่างหอพักกับ IFATulln

วันแรกที่ไปถึงของรอบที่ 2 เหมือนกับรอบแรก คือ เราต้องเอาตัวอย่างที่ถือมาจากประเทศไทยไปเก็บที่แลปของ IFATulln ก่อน จากนั้นในวันถัดมาจะต้องไปลงทะเบียนที่ Magistratisches Bezirksamt ใกล้ ๆ กับหอพักเพื่อแจ้งที่อยู่ในช่วงที่อยู่ที่เวียนนาและก่อนเดินทางกลับประเทศไทยก็ต้องไปแจ้งด้วยว่าเราย้ายออกจากที่พักแล้ว ปกติเค้าจะให้แจ้งภายใน 3 วัน หลังจากที่เราย้ายเข้าหรือก่อนย้ายออกจากที่พัก เอกสารต่าง ๆ ทางหอพักเป็นคนจัดการให้ แต่เราต้องเอาเอกสารไปยื่นเอง จากนั้นจึงเข้าไปที่ IFA เพื่อวางแผนการทำวิจัยกับ Michi หลังจากคุยกันเสร็จ Michi พาไปแนะนำให้รู้จักกับ Melita ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารจากประเทศโครเอเชียมาทำวิจัยกับ Michi เหมือนกัน รอบนี้เราก็เลยมีเพื่อนนั่งทำงานในแลปด้วยนอกจาก Brigritte และ Armin  แต่รอบนี้เรามีปัญหานิดหน่อยในช่วงท้ายของการทำวิจัย เนื่องจากตัวอย่างที่เราเก็บไว้ในห้องเก็บตัวอย่างหายไป พอเราไปแจ้ง Michi กับ Brigritte ทั้งสองคนก็ช่วยเราหาตัวอย่างในห้องเก็บตัวอย่างทุกห้อง Michi บอกเราว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องกังวล สุดท้ายเราทั้ง 3 คน ก็หาตัวอย่างไม่เจอ หลังจากนั้นทั้ง Michi กับ Brigritte ก็ช่วยกันหาทางแก้ปัญหาเพื่อให้เราสามารถทำวิจัยในส่วนสุดท้ายได้ เรารู้สึกประทับใจและขอบคุณทั้งสองคนมาก ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกว่าเราไม่ได้แก้ปัญหาอยู่คนเดียว ทุกคนพร้อมที่จะช่วยเหลือเรา ทำให้เราผ่านปัญหานั้นมาได้และทำวิจัยเสร็จตามที่กำหนดไว้  ก่อนเดินทางกลับจึงมีโอกาสได้เที่ยวชมในเมืองเวียนนาอีกครั้ง

สำหรับการมาทำวิจัยทั้ง 2 ครั้งที่ IFATulln ต้องขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ตั้งแต่อาจารย์ส้มที่ช่วยประสานงานติดต่อกับ Rudi แนะนำเรื่องที่พัก และการเดินทาง Rudi ที่สนันสนุนงานวิจัยในส่วนของ Multiple mycotoxin analysis ทั้งหมด Michi ที่ช่วยหาที่พักให้เราครั้งแรกที่ไป ช่วยสอนวิธีการเตรียมตัวอย่าง การใช้ LCMS/MS และการวิเคราะห์ข้อมูล Brigritte และ Armin ที่ช่วยดูแลและช่วยเหลือเราทุกอย่างตลอดการทำวิจัย ทุกคนมีส่วนช่วยทำให้งานวิจัยในส่วนนี้ของเราผ่านไปได้ด้วยดีและทำให้เราได้รับประสบการณ์ที่ดีมาก ๆ ในการไปทำวิจัยในครั้งนี้