เปลี่ยนภาษา:  English

ดร.พัณณ์ชิตา เวชสาร (แนน)
ศิษย์เก่า สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

พีรศุทธิ์ บัณฑราภิวัฒน์ (เพชร)
ศิษย์เก่า สาขาวิชาเคมี

นพรุจ พิสุทธิ์จรุงใจ (ตี๋) ศิษย์เก่า สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ดูเรื่องจากศิษย์เก่าทั้งหมด

พีรศุทธิ์ บัณฑราภิวัฒน์ (เพชร)

ศิษย์เก่า สาขาวิชาเคมี

“ด้วยการเรียนการสอนที่เด่นทั้งเนื้อหาและการนำไปประยุกต์ใช้ ผสมผสานความรู้แขนงอื่นๆ เข้าด้วยกัน นำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงาน เป็นการลดจุดอ่อนและเสริมทักษะให้กับเด็กวิทย์ ที่นี่ให้ความรู้ที่มากกว่าเรื่องวิทย์ ทำให้ผมต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการได้”

ในตลาดแรงงานล้วนยังต้องการผู้ที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์อีกเป็นจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ อย่างสายงานเคมีที่ผมจบมา สามารถทำงานได้หลากหลายมากๆ ทั้งทำงานวิจัย ทำงานภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจ ซึ่งในการหางานนั้นต้องมีครบทั้งความรู้ ประสบการณ์ การฝึกงาน หรือทำงานระหว่างเรียน การสร้างผลงานต่างๆ ก็จะเป็นโปรไฟล์ในการช่วยให้ได้งานที่อยากทำง่ายยิ่งขึ้น ในส่วนของผมนั้นได้มีโอกาสไปทำงานในแล็บร่วมกับอาจารย์พิเศษที่มาสอนในสาขาตั้งแต่ตอนปี 4 เทอม 2 จึงได้เก็บประสบการณ์มาทำงานต่อเป็น Quality Control ในส่วนของสินค้าอุปโภคและบริโภค โดยได้นำความรู้เรื่องของการทำแล็บ เคมีวิเคราะห์ เคมีอินทรีย์ มาประยุกต์ใช้ในงานที่ทำอย่างเต็มที่
.
ผมได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์จากการเรียน และใช้ต่อยอดในการทำงานมาเรื่อยๆ จนมีโอกาสเปิดบริษัทของตัวเองคือ บริษัท นิชิกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เกี่ยวกับการนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง ทุกอย่างที่ทำให้เกิดบริษัทนี้เริ่มมาจากที่ SCI TU ด้วยการเรียนการสอนที่เด่นทั้งเนื้อหาและการนำไปประยุกต์ใช้ รวมถึงจุดเด่นอย่างการผสมผสานความรู้แขนงอื่นๆ เข้าด้วยกัน เช่น สังคมและการปกครอง ศาสนา ภาษาไทย ที่นำไปปรับใช้ได้จริงในการทำงานได้ เป็นการลดจุดอ่อนและเสริมทักษะให้กับเด็กวิทย์ในด้านของการสื่อสาร การเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น การบริหารจัดการคนและงานให้ออกมาดี เพราะที่นี่ให้ความรู้ที่มากกว่าเรื่องวิทย์ ทำให้ผมต่อยอดสู่การสร้างธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการได้