เปลี่ยนภาษา: English
นางสาวปาริชาต ภัทรพานิชชัย นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ University of Regina ประเทศแคนาดา
ว่าที่ ร.ท. เฉลิมรัช นนทะภา นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ York University ประเทศแคนาดา
นายปริญญา บุญเอี่ยม นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น
นายเอกรินทร์ จ่าเมือง นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น
นายยุทธนา บุญปาลิต นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น
ดูบันทึกจากนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้งหมด
นางสาวปาริชาต ภัทรพานิชชัย นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ University of Regina ประเทศแคนาดา
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ (หลักสูตรนานาชาติ)
ตั้งแต่กันยายน 2562 ถึง กรกฎาคม 2563
นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอก ภายใต้ทุนสนับสนุนจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2562
Background and Scholarships
ดิฉัน นางสาวปาริชาต ภัทรพานิชชัย เลขทะเบียน 6009320042 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในหลักสูตรปริญญาเอกสถิติ (นานาชาติ) ของสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นนักศึกษาในที่ปรึกษาของ รองศาสตราจารย์ดร.กมล บุษบา และอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม Prof. Andrei Volodin ดิฉันได้รับทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีทุนการศึกษาส าหรับวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศส าหรับนักศึกษาปริญญาเอกเป็นระยะเวลา 8-12 เดือน โดยคุณสมบัติหลักของผู้สมัครต้องมีผลการศึกษาเกรดเฉลี่ยสะสม(GPAX)ไม่ต่ำกว่า 3.50 มีหลักฐานของความร่วมมือในการทำวิจัยกับนักวิจัยหรือสถาบันในต่างประเทศ และมีคะแนนภาษาอังกฤษ TOEFL หรือ IELTS ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีเอกสารประกอบการสมัครดังนี้
Figure 1 เอกสารประกอบการสมัครขอรับทุนวิจัยต่างประเทศ ทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
หลังจากสอบวัดระดับปริญญาเอกเรียบร้อยในเดือนเมษายน 2019 ดิฉันได้ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาเรื่องการทำวิจัยในต่างประเทศ และดำเนินการติดต่ออาจารย์ที่ปรึกษาร่วมเพื่อวางแผนทั้งหมดทันที
ขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย
1. ขอเอกสารตอบรับจากสถาบันในต่างประเทศ
2. ขอทุนทำวิจัยในต่างประเทศจากทุนเรียนดีวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย (ใช้เอกสารในข้อ 1.)
3. ขอวีซ่าและ work permit จากสถานทูต (ใช้เอกสารในข้อ 1. และ 2.)
ขั้นตอนการเตรียมเอกสารทั้งหมดไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ว่าในแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลาในการติดต่อ ดิฉันใช้เวลาทั้งหมด 4 เดือน และได้เดินทางไปทำวิจัย ณ University of Regina ประเทศ Canada เป็นระยะเวลา 11 เดือน ตั้งแต่ กันยายน 2019 ถึง กรกฎาคม 2020 เมื่อเราเดินทางมาทำวิจัยแล้ว ต้องส่งรายงานความก้าวหน้าให้ต้นสังกัด ซึ่งก็คือทุนเรียนดีฯ ทุก 3 เดือน และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์เมื่อกลับถึงประเทศไทยค่ะ
Figure 2 University of Regina และ Wascana Park ใน Regina
Activities of seminar
การที่ดิฉันได้มาทำวิจัยในต่างประเทศนั้น ไม่ใช่เพียงจะได้ผลงานวิจัยกลับไป เราจะได้ประสบการณ์ต่าง ๆ จากกิจกรรมที่ทางมหาวิทยาลัยจัดขึ้น เช่น การเข้าอบรมการเขียน Thesis ซึ่งจัดโดย Faculty of graduate studies and research
Figure 3 สัมมนาเรื่องการเขียน Thesis จัดโดย Faculty of graduate studies and research
ทั้งนี้ยังได้เข้าฟังสัมมนาจากอาจารย์ที่ได้รับเชิญมาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในแคนาดา ไม่ใช่เพียงอาจารย์จาก University of Regina เท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ Prof. Syed Ejaz Ahmed จาก Brock University
Figure 4 สัมมนาที่จัดขึ้นโดย Department of Mathematics and Statistics, University of Regina
นอกจากนี้ยังมีสัมมนาที่จัดขึ้นในมหาลัยอื่น ๆ นอกเหนือจาก UofR ซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นสัมมนาของนักศึกษาทั่วไป เช่น งานสัมมนาของนักศึกษาที่ได้รับทุน Queen Elizabeth Scholar แต่เนื่องจากดิฉันมีโอกาสได้ส่ง Scope ของงานวิจัย และขอเข้าฟังสัมมนาที่จัดขึ้นใน University of Saskatchewan และได้รับโอกาสอันดีนี้
Figure 5 งานสัมมนาที่จัดขึ้นใน University of Saskatchewan
Volunteer
กิจกรรมที่ทำให้ดิฉันได้รับโอกาสประสบการณ์ทำงานจาก UofR คือการทำอาสาสมัครต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการทำางานนอกเหนือจากงานวิจัยมากขึ้น ดิฉันได้รับโอกาสจากรุ่นพี่ที่รู้จักในการทำอาสาสมัครเป็นพี่เลี้ยงนักศึกษาต่างชาติในการไปทัศนศึกษาที่เมือง Moose Jaw โดยได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของ Tunnels of Moose Jaw ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประสบการณ์ที่หาไม่ได้ในห้องเรียน
Figure 6 ทัศนศึกษาที่ Tunnels of Moose Jaw
อีกหนึ่งงานอาสาสมัครที่ดิฉันชอบมากเนื่องจากได้ใช้ทักษะในการสอนและทักษะทางคณิตศาสตร์คือการเป็นผู้ช่วยสอนกิจกรรม Math Circle เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยภาควิชาเดือนละ 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้และความสนุกทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กประถมเกรด 1-7 เหนือสิ่งอื่นใดคือ กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย จึงทำให้เป็นที่สนใจของเด็ก ๆ (ผู้ปกครอง) ใน Regina โดยมีนักเรียนลงทะเบียนเต็มทุกรอบ ดิฉันได้มีโอกาสเป็นผู้ช่วยสอนในเทอม Fall 2019 และ Winter 2020 ทั้งนี้ทางภาควิชายังมีกิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ในเทอม Spring/Summer แต่เนื่องจาก สถานการณ์ COVID-19 ทำให้กิจกรรมนี้ถูกยกเลิกในปีนี้
Figure 7 กิจกรรม Math Circle จัดขึ้นโดย Department of Mathematics and Statistics, University of Regina
Other student benefits
การมาทำวิจัยในครั้งนี้ดิฉันมาในฐานะ Visiting Graduate Research Student (VGRS) ซึ่งยังถือว่าเป็นนักศึกษา โดยเราสามารถใช้สิทธิประโยชน์ตรงนี้ได้หลากหลาย เช่น การเข้าชมพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในแคนาดา หรือการสมัครแพคเกจอินเตอร์เน็ต ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาพิเศษสำหรับนักศึกษา (ขอกระซิบว่าโปรโมชันอินเตอร์เน็ตของแคนาดาแพงมากค่ะ เนื่องจากเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ เมืองแต่ละเมืองห่างกันมาก) สิทธิประโยชน์แรกของการเป็นนักศึกษาที่ UofR อันแรกเมื่อเข้ามาถึงมหาวิทยาลัยคือการได้บัตรนักศึกษา ซึ่งด้านหลังเป็นบัตรรถโดยสารประจำทาง ซึ่งเราจะได้ราคานักศึกษา จ่ายครั้งเดียวใช้ได้ทั้งเทอม ซึ่งถือว่าถูกมาก ๆ เมื่อเทียบกับราคาปกติ
Figure 8 บัตรนักศึกษาของ University of Regina
นอกจากนี้ในมหาวิทยาลัยยังมีการจัดกิจกรรมอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะทำให้เราได้พบปะกับนักศึกษาและอาจารย์ รวมทั้งมีอาหารเครื่องดื่ม เช่น กิจกรรม Aloha Friday ที่จัดโดยภาควิชา และกิจกรรม International Night 2020 จัดโดย UR International Student Services ซึ่งมีกิจกรรมการแสดง และการประกวดเพื่อชิงรางวัลมากมาย (รางวัลใหญ่ปีนี้คือ MacBook Air Laptop)
Figure 9 กิจกรรมภายใน University of Regina
ทาง UofR มีนักศึกษานานาชาติจากหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นการสื่อสารภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และทางมหาวิทยาลัยได้มีกิจกรรมหลากหลายเพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาการสื่อสาร เช่น Conversation 1-on-1 ซึ่งนักศึกษาจะได้พูดคุยกับนักศึกษาต่างชาติเพื่อฝึกฝนการพูดและการฟังหรือ English Coaching ซึ่งสามารถช่วยนักศึกษาในการพัฒนาการฟัง พูด อ่าน เขียน และยังช่วยตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษให้นักศึกษาได้อีกด้วย อีกทั้งยังมี Tutoring / Study Assistance ซึ่งสามารถช่วยติวนักศึกษาที่ต้องการติวเตอร์ได้เกือบทุกวิชา
นอกจากนี้สำหรับนักศึกษาปริญญาโท-เอก ที่ต้องการทำงานระหว่างเรียน ทาง UofR ก็มีงานภายในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น งานคุมสอบ งานผู้ช่วยสอน งานตรวจการบ้าน หรืองานติวเตอร์
Figure 10 บรรยากาศห้องเรียนสถิติพื้นฐานใน University of Regina
การได้ไปทำวิจัยที่ University of Regina ประเทศแคนาดา ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีครั้งใหญ่ในชีวิต ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มากมาย การแก้ปัญหาการทำงานร่วมกับผู้อื่น สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. กมล บุษบา และ Prof. Andrei Volodin ที่สนับสนุนและผลักดันให้การไปทำวิจัยครั้งนี้เกิดขึ้นได้ขอบคุณ ทุนเรียนดีวิทย์ฯ ที่สนับสนุนเงินทุนวิจัย ขอบคุณครอบครัวที่คอยให้กำลังใจ และให้การสนับสนุนเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ ขอบคุณ พี่ ๆ เจ้าหน้าที่ พี่เปิ้ล พี่มาลัย ที่คอยให้คำปรึกษา ขอบคุณรุ่นพี่ทุกคนที่คอยให้คำแนะนำต่าง ๆ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าประสบการณ์ในครั้งนี้จะเป็นแรงบันดาลใจและได้บอกเล่าแก่ผู้สนใจต่อไป ขอบคุณค่ะ