เปลี่ยนภาษา:  English

นางสาวเสาวลักษณ์ อดุลพัชราภรณ์ นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ Institute of Sciences of Food Production (ISPA), National Research Council (CNR) ประเทศอิตาลี

นางสาวปาริชาต ภัทรพานิชชัย นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ University of Regina ประเทศแคนาดา

ว่าที่ ร.ท. เฉลิมรัช นนทะภา นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ York University ประเทศแคนาดา

นายปริญญา บุญเอี่ยม นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น

นายเอกรินทร์ จ่าเมือง นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น

ดูบันทึกจากนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้งหมด

นางสาวเสาวลักษณ์ อดุลพัชราภรณ์ นักศึกษาแลกเปลี่ยน Outbound ที่ Institute of Sciences of Food Production (ISPA), National Research Council (CNR) ประเทศอิตาลี

นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
30 กันยายน 2561 ถึง 15 ธันวาคม 2561

นักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาเอก ภายใต้ทุนสนับสนุนจาก MycoKey Project (European Union Horizon 2020, Research and Innovation Programme) ไปทำงานวิจัยที่ Institute of Sciences of Food Production (ISPA), National Research Council (CNR), Bari, Italy

ดิฉัน นางสาวเสาวลักษณ์ อดุลพัชราภรณ์ นักศึกษาปริญญาเอก ในที่ปรึกษาของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อวันวี เพชรคงแก้ว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำงานวิจัยทางด้านการลดสารพิษจากราโดยใช้จุลินทรีย์และตัวดูดซับสารพิษ (Adsorbent) โดยการได้รับทุนสนับสนุนไปทำงานวิจัยในต่างประเทศจาก MycoKey Project (European Union Horizon 2020, Research and Innovation Programme)

ดิฉันเลือกไปทำงานวิจัยที่ Institute of Sciences of Food Production (ISPA), National Research Council (CNR), Bari ประเทศอิตาลีกับ Dr. Giuseppina Avantaggiato ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลดสารพิษจากราโดยใช้จุลินทรีย์และตัวดูดซับโดยตรง โดยในช่วงของการเดินทางวันแรกอาจารย์ที่ปรึกษาได้โทรมาให้กำลังใจและแนะนำวิธีในการเดินทางระหว่างเมืองรวมถึงขั้นตอนการเปลี่ยนเครื่อง ซึ่งการได้พูดคุยกับอาจารย์นั้นมันทำให้ดิฉันคลายกังวลได้ระดับหนึ่งกับการเดินทางไปต่างประเทศตัวคนเดียว

เริ่มต้นจากอาจารย์ที่ปรึกษาแจ้งให้ทราบว่า ทางยุโรปเปิดรับข้อเสนอโครงการให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาไปทำงานวิจัยกับประเทศทางฝั่งยุโรปเป็นระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งทุนนี้เป็นทุนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยของดิฉันโดยตรง โดยสิ่งสำคัญของทุนทั่วไปที่เปิดรับในต่างประเทศคือ การหา Host เป็นที่ปรึกษาเวลาไปทำงานวิจัยในต่างประเทศ ซึ่งดิฉันถือว่ามีความโชคดีเป็นอย่างยิ่ง ที่อาจารย์ที่ปรึกษามี Connection กับอาจารย์ในต่างประเทศหลายท่านในหลายประเทศ ดังนั้นการหารายชื่อ Host ที่ทำงานวิจัยแนวเดียวกับวิทยานิพนธ์ของดิฉันจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากนัก โดยหลังจากที่ได้ทำการปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาในการเลือก Host ที่ต่างประเทศแล้วนั้น อาจารย์ก็ดำเนินการติดต่อ Host เพื่อสอบถามเกี่ยวกับการรับนักศึกษาไปทำงานวิจัยในหน่วยงาน

หลังจากได้รับการตอบรับเป็น Host จากอาจารย์ที่ต่างประเทศแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การเขียน Research proposal ร่วมกับ Host เพื่อยื่นเสนอขอทุน ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและ Host เป็นอย่างมาก ที่เสียสละเวลาในการตรวจและแก้ไข Proposal รวมถึงเสียสละเวลาในการเตรียมเอกสารและ Proposal submission ในเวปไซด์ เนื่องจากเอกสารที่ใช้มีความเร่งด่วนและขึ้นกับบุคคลหลายบุคคล โดยหลังจากที่ Proposal ได้รับการคัดเลือก จาก MycoKey Project (European Union Horizon 2020, Research and Innovation Programme) ขั้นตอนต่อไปคือการเตรียมเอกสารขอวีซ่า การเตรียมตัวอย่างเพื่อไปทำการทดลอง การออกแบบงานวิจัย และการศึกษาข้อมูลของเมืองหรือประเทศที่เรากำลังจะไปทำงานวิจัย โดยขั้นตอนในการเตรียมเอกสารต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขอวีซ่า เอกสารการจองตั๋วเครื่องบิน หรือโรงแรม วิธีในการขึ้นรถไฟ รวมถึงการเตรียมตัวให้พร้อมในการไปใช้ชีวิตที่ต่างประเทศนั้น ดิฉันต้องขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นอย่างมากสำหรับการแนะนำและความช่วยเหลือต่าง ๆ อย่างดีเยี่ยม ทำให้ดิฉันมีความพร้อมและไม่เกรงกลัวในการเดินทางและใช้ชีวิตคนเดียวในต่างแดน

หลังจากการนั่งเครื่องบินและรถไฟอันแสนยาวนาน ดิฉันก็มาถึงเมือง Bari ประเทศอิตาลี ดิฉันได้พบกับ Dr. Giuseppina Avantaggiato เธอมารอรับดิฉันที่หน้าสถานีรถไฟ เธอเป็นคนใจดีมาก เธอพาดิฉันเข้าไป Check-in ที่หอพัก พาไปทานอาหารหลังวัน รวมถึงการเดินชมรอบ ๆ เมือง Bari ณ เวลานั้นดิฉันรู้สึกว่าดิฉันโชคดีเป็นอย่างมากที่ได้พบกับอาจารย์ที่ทั้งน่ารักและใจดีแบบนี้ในต่างถิ่น มันทำให้การพูดคุยเรื่องต่าง ๆ เป็นไปอย่างผ่อนคลายและไม่ตึงเครียด ตลอดระยะเวลาที่ดิฉันทำงานวิจัยที่อิตาลี ดิฉันได้รู้จักกับเพื่อนร่วมงานที่ดี พวกเขาคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือดิฉันในทุก ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในขณะทำงานวิจัย ปัญหาส่วนตัวหรือปัญหาในการใช้ภาษา โดยสิ่งสำคัญที่ได้จากการไปทำงานวิจัยอีกอย่างคือ การได้แลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ รวมถึงการเรียนรู้ลักษณะความเป็นอยู่และการใช้ชีวิตคนในประเทศ

นอกจากนี้ดิฉันยังมีโอกาสได้เข้าอบรมใน 2 หัวข้อ คือ Rapid Methods for Mycotoxin Detection in The Food Chain และ Strategies for Minimization of Mycotoxins and Toxigenic Fungi in Food Chains ซึ่งการอบรมเหล่านี้ ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้เทคนิคใหม่ ๆ รู้จักนักวิจัยใหม่ ๆ รวมถึงการได้องค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่สามารถนำมาต่อยอดในงานวิจัยของตัวเองได้อีกด้วย

สุดท้ายนี้ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่ได้เล่ามาหรือภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ จะพอมีประโยชน์กับผู้ที่อ่าน และเป็นแนวทาง หรือแรงผลักดันให้กับนักศึกษาท่านอื่น ๆ ในการไปหาประสบการณ์และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในต่างประเทศ