ทีมคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา SCI-TU คว้า 4 รางวัลจาก “ITEX21” 32ND INTERNATIONAL INVENTION, INNOVATION & TECHNOLOGY EXHIBITION, MALAYSIA

16 ธ.ค. 2021 | ข่าวทั่วไป

ทีมคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา SCI-TU คว้า 4 รางวัลจาก “ITEX21” 32ND INTERNATIONAL INVENTION, INNOVATION & TECHNOLOGY EXHIBITION, MALAYSIA

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

🥇🥈🥈🥉 ที่คว้า 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง จากการเข้าร่วมประกวดผลงานในเวทีนานาชาติ ITEX’21 ประเทศมาเลเชีย

📌ผลงาน GAIGON: FRIEND OF AQUARIUM
“ไกก้อน” สหายของอควาเรียม เป็นสาหร่ายก้อนกลมที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีในการนำสาหร่ายไกซึ่งเป็นสาหร่ายเส้นสายสีเขียวขนาดใหญ่มาขึ้นรูปให้เป็นทรงกลมและสวยงาม เหมาะสำหรับใช้ในการตกแต่งอควาเรียม ไกก้อนสามารถเป็นอาหารให้กับสัตว์น้ำ และด้วยประสิทธิภาพการการดูดซับสารอาหารของสาหร่ายไก ทำให้ไกก้อนสามารถบำบัดไนเตรทและฟอสเฟตในอควาเรียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

📌ผลงาน DR. EX (Insecticide Exposure Screening Solution)
เครื่องสำหรับการตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถตรวจวิเคราะห์สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มออร์กาโนคลอรีนได้ และกลุ่มไพรีทรอยด์ กล้องจะเป็นตัวบันทึกข้อมูลส่งไปยังโปรแกรมประมลลผลภาพเพื่อวิเคราะห์ค่าสี R G B ที่มีความแม่นยำสูง และสามารถเคลื่อนย้ายได้โดยเอนไซม์อะซิติลคลอรีนเอสเทอเรสเป็นตัวบ่งชี้ชนิดของสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชเนื่องจากมีความจำเพาะเจาะจงสูง และมีความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงสีในการตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

📌ผลงาน ผลงาน TU- Chicks Booster
การพัฒนาไมโครแคปซูลน้ำมันตะไคร้ เพื่อรักษาคุณภาพของสารสำคัญของน้ำมันหอมระเหย ยืดอายุการเก็บรักษาและการขนส่ง โดยนำมาใช้เป็นสารเสริมในอาหารไก่เนื้อและอุตสาหกรรมปศุสัตว์เพื่อทดแทนการใช้ยาปฎิชีวนะ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อยช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดความเครียด ส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ สามารถเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ อันจะนำไปสู่การสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร
📌ผลงาน ผลงาน TU-BiO CHEST SENSE (TU-BSC)
มะเร็งเต้านม เป็นสาเหตุการตายของผู้หญิงเป็นอันดับที่ 2 ปัจจุบันมีการคัดกรองผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมโดยการตรวจหา HER2 (Human Epidermal Growth Receptor 2) ซึ่งเป็นโปรตีนที่พบได้บนพื้นผิวเซลล์ ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเติบโตของเซลล์ และการแบ่งเซลล์ ถ้าร่างกายผลิต HER2 มากเกินไป ก็จะทำให้เนื้องอกเติบโตรวดเร็วผิดปกติ พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม จะตรวจพบ HER2 positive ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาอุปกรณ์การตรวจหามะเร็งเต้านม โดยใช้สาร mesoporous sillica nanoparticle-silver nanoparticles(MSNs-AgNPs) ซึ่งอาศัยการจับอย่างจำเพาะของแอนติบอดีและแอนติเจน และการแสดงสมบัติทางแสงของอนุภาคนาโน สำหรับชุดทดลองตรวจหามะเร็งเต้านม (ชุด kit) ใช้ smart phone แบบเซนเซอร์ชีวภาพ ที่ใช้อ่านระดับสีของของของเหลวในการประเมินผลหาเซลล์มะเร็ง และผลการเปลี่ยนแปลงเฉดสีของสารละลายเทียบกับระดับจำนวนเซลล์มะเร็งเต้านมที่ใช้แบ่งแยกระดับการแพร่กระจายของมะเร็ง