เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาตรี

สาขาวิชาฟิสิกส์

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3.5 – 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

ความเข้าใจในฟิสิกส์รากฐานจะทำให้เรามองเห็นความสวยงามของธรรมชาติในจักรวาลที่เราอาศัยอยู่ และเรียนรู้การดำรงอยู่ของตนเองในโลกอันน่าอัศจรรย์แห่งนี้ การเรียนฟิสิกส์จะครอบคลุมตั้งแต่การเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดวงดาว คลื่นในธรรมชาติ ความยุ่งเหยิงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า จนถึงปรากฎการณ์จากวัตถุที่เล็กที่สุด เช่น อะตอม ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น และการเป็นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยี ผ่านมุมมองและการทำโครงงานด้านฟิสิกส์ ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

คำอธิบายหลักสูตร

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงการทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเชิงเทคนิค และการเขียนโปรแกรม ผ่านบทเรียนและการทำโครงงาน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำวิจัยกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ เช่น การใช้พลาสมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารและวัสดุ ระบบตรวจวัดกลิ่นและสารเคมีด้วยเซนเซอร์

การประยุกต์ใช้เซนเซอร์แสงและมือถือกับงานทางด้านการแพทย์ การปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัตถุโดยการเคลือบชิ้นงานด้วยฟิล์มบางจากกราฟิน หรือโลหะออกไซด์ การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดใหม่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งการต่อยอดองค์ความรู้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ นอกจากนี้นักศึกษามีโอกาสจบการศึกษาภายใน 3 ปีครึ่ง และสามารถศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาฟิสิกส์ได้อย่างต่อเนื่องที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ยังมีศักยภาพทางวิชาการสำหรับศึกษาต่อในขั้นสูงทั้งในและนอกประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ถือได้ว่าเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง และมีแนวทางการประกอบอาชีพที่ดีได้หลากหลาย ซึ่งยืนยันได้จากนายจ้างและบัณฑิต โดยอาชีพที่เป็นไปได้ เช่นเช่น เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน นักวิจัยและพัฒนา นักพัฒนาโปรแกรม เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในโรงงาน วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร นักดาราศาสตร์ นักบิน คอลัมนิสต์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยงานที่บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์สามารถเข้าไปประกอบอาชีพได้ เช่น หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรมหาชน หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์และการแพทย์ หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและพลังงาน หน่วยงานด้านความมั่นคง และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บัณฑิตฟิสิกส์ยังทำงานในหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมพลังงาน เครื่องมือ เทคโนโลยี ฮาร์ดดิสก์ อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร และอัญมณี

ความเข้าใจในฟิสิกส์รากฐานจะทำให้เรามองเห็นความสวยงามของธรรมชาติในจักรวาลที่เราอาศัยอยู่ และเรียนรู้การดำรงอยู่ของตนเองในโลกอันน่าอัศจรรย์แห่งนี้ การเรียนฟิสิกส์จะครอบคลุมตั้งแต่การเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดวงดาว คลื่นในธรรมชาติ ความยุ่งเหยิงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า จนถึงปรากฎการณ์จากวัตถุที่เล็กที่สุด เช่น อะตอม ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น และการเป็นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยี ผ่านมุมมองและการทำโครงงานด้านฟิสิกส์ ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

คำอธิบายหลักสูตร

นักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะการเป็นผู้ประกอบการ และการถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมถึงการทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาเชิงเทคนิค และการเขียนโปรแกรม ผ่านบทเรียนและการทำโครงงาน โดยนักศึกษาจะได้เรียนรู้และทำวิจัยกับคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่าง ๆ เช่น การใช้พลาสมาเพื่อปรับปรุงคุณภาพของอาหารและวัสดุ ระบบตรวจวัดกลิ่นและสารเคมีด้วยเซนเซอร์

การประยุกต์ใช้เซนเซอร์แสงและมือถือกับงานทางด้านการแพทย์ การปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของวัตถุโดยการเคลือบชิ้นงานด้วยฟิล์มบางจากกราฟิน หรือโลหะออกไซด์ การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดใหม่ การพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือแม้กระทั่งการต่อยอดองค์ความรู้ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ นอกจากนี้นักศึกษามีโอกาสจบการศึกษาภายใน 3 ปีครึ่ง และสามารถศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาฟิสิกส์ได้อย่างต่อเนื่องที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ยังมีศักยภาพทางวิชาการสำหรับศึกษาต่อในขั้นสูงทั้งในและนอกประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ถือได้ว่าเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง และมีแนวทางการประกอบอาชีพที่ดีได้หลากหลาย ซึ่งยืนยันได้จากนายจ้างและบัณฑิต โดยอาชีพที่เป็นไปได้ เช่นเช่น เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์หลักฐาน นักวิจัยและพัฒนา นักพัฒนาโปรแกรม เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในโรงงาน วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการตรวจสอบสิทธิบัตร นักดาราศาสตร์ นักบิน คอลัมนิสต์ บุคลากรทางการศึกษา และผู้ประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

หน่วยงานที่บัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์สามารถเข้าไปประกอบอาชีพได้ เช่น หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรมหาชน หน่วยงานด้านนิติวิทยาศาสตร์และการแพทย์ หน่วยงานด้านเทคโนโลยีและพลังงาน หน่วยงานด้านความมั่นคง และสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บัณฑิตฟิสิกส์ยังทำงานในหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมพลังงาน เครื่องมือ เทคโนโลยี ฮาร์ดดิสก์ อิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร และอัญมณี

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 3.5 – 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 40 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    129 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            93 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร: