เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาโท

สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีวัสดุ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

นักศึกษาจบปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกัน และมีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5 (หากเกรดเฉลี่ยต่ำกว่าที่ระบุต้องพิจารณาเป็นรายกรณี)

จำนวนหน่วยกิต:

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม 37 หน่วยกิต แบ่งเป็น
วิชาหลัก 10 หน่วยกิต
วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 19,900 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร 02-564-4440 ต่อ 2600
ประธานหลักสูตร : penwisa@tu.ac.th
ผู้ประสานงานหลักสูตร : man.paiwan@gmail.com

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรระยะเวลา 2 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญทางวัสดุศาสตร์ สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
เนื้อหาของหลักสูตรครอบคลุมวัสดุทุกกลุ่ม ได้แก่ โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ บัณฑิตที่ผ่านการศึกษาในหลักสูตรจะมีความเข้าใจในพฤติกรรมของวัสดุ และสามารถสร้างนวัตกรรมทางวัสดุได้ ตัวอย่างนวัตกรรมวัสดุที่ทางสาขาฯ พัฒนา ได้แก่ วัสดุนาโน วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม และวัสดุอัจฉริยะ เป็นต้น

ในระหว่างการศึกษา นักศึกษาจะได้รับคำปรึกษาในการเรียนและการทำวิจัยอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในบางหัวข้องานวิจัยอาจมีการร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาในหลักสูตรทุกคนจะได้รับทุนสนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการภายในประเทศและต่างประเทศ นักศึกษาที่มีศักยภาพอาจได้โอกาสในการทำวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ
ในการสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะต้องมีผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 ชิ้น ที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ หรือตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และได้ศึกษาหรือผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่กำหนด

หัวข้องานวิจัย

  •  วัสดุนาโนและวัสดุเชิงประกอบที่มีคุณสมบัติพิเศษ
  •  วัสดุนาโน
  •  เส้นใยระดับนาโน
  •  การดัดแปรสมบัติของเส้นใย
  •  ตัวรับรู้เชิงแสง
  •  จีโอพอลิเมอร์
  •  เหล็กและโลหะผสมเหล็ก
  •  ผลึกศาสตร์ของวัสดุ
  •  วัสดุทางการแพทย์

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ  
  • นักวิเคราะห์ทดสอบ นักวางแผนและควบคุมคุณภาพ ที่ปรึกษาในกระบวนการผลิต  
  • ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
  • อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับวัสดุ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

คำอธิบายหลักสูตร

หลักสูตรระยะเวลา 2 ปี โดยมีจุดมุ่งหมายให้บัณฑิตมีความเชี่ยวชาญทางวัสดุศาสตร์ สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้หลากหลายทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
เนื้อหาของหลักสูตรครอบคลุมวัสดุทุกกลุ่ม ได้แก่ โลหะ เซรามิก และพอลิเมอร์ บัณฑิตที่ผ่านการศึกษาในหลักสูตรจะมีความเข้าใจในพฤติกรรมของวัสดุ และสามารถสร้างนวัตกรรมทางวัสดุได้ ตัวอย่างนวัตกรรมวัสดุที่ทางสาขาฯ พัฒนา ได้แก่ วัสดุนาโน วัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม และวัสดุอัจฉริยะ เป็นต้น

ในระหว่างการศึกษา นักศึกษาจะได้รับคำปรึกษาในการเรียนและการทำวิจัยอย่างใกล้ชิดจากอาจารย์ที่ปรึกษา โดยในบางหัวข้องานวิจัยอาจมีการร่วมงานกับภาคอุตสาหกรรม นักศึกษาในหลักสูตรทุกคนจะได้รับทุนสนับสนุนให้ไปนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการภายในประเทศและต่างประเทศ นักศึกษาที่มีศักยภาพอาจได้โอกาสในการทำวิจัยระยะสั้นในต่างประเทศ
ในการสำเร็จการศึกษา นักศึกษาจะต้องมีผลงานวิจัยจากวิทยานิพนธ์อย่างน้อย 1 ชิ้น ที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ หรือตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) และได้ศึกษาหรือผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษตามที่กำหนด

หัวข้องานวิจัย

  •  วัสดุนาโนและวัสดุเชิงประกอบที่มีคุณสมบัติพิเศษ
  •  วัสดุนาโน
  •  เส้นใยระดับนาโน
  •  การดัดแปรสมบัติของเส้นใย
  •  ตัวรับรู้เชิงแสง
  •  จีโอพอลิเมอร์
  •  เหล็กและโลหะผสมเหล็ก
  •  ผลึกศาสตร์ของวัสดุ
  •  วัสดุทางการแพทย์

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • อาจารย์ นักวิจัย ในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ  
  • นักวิเคราะห์ทดสอบ นักวางแผนและควบคุมคุณภาพ ที่ปรึกษาในกระบวนการผลิต  
  • ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์
  • อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับวัสดุ

โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

นักศึกษาจบปริญญาตรีในสาขาที่เกี่ยวข้องกัน และมีผลการเรียนเกรดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 2.5 (หากเกรดเฉลี่ยต่ำกว่าที่ระบุต้องพิจารณาเป็นรายกรณี)

จำนวนหน่วยกิต:

หลักสูตรภาษาไทย ระบบทวิภาค ระยะเวลาศึกษา 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวม 37 หน่วยกิต แบ่งเป็น
วิชาหลัก 10 หน่วยกิต
วิชาเลือก 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 18 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

  • 19,900 บาท / ภาคการศึกษา

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

โทร 02-564-4440 ต่อ 2600
ประธานหลักสูตร : penwisa@tu.ac.th
ผู้ประสานงานหลักสูตร : man.paiwan@gmail.com