เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาโท

สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร

หลักสูตรภาษาไทย (วันเสาร์-อาทิตย์) ระบบทวิภาค 
ระยะเวลา: 2 ปี
จำนวนรับเข้า: 10 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือใกล้เคียงจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรองและต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ

2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งที่นอกเหนือจากข้อ 1 และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหาร ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ

3. กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีในสาขานั้นๆมาแล้วไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

    จำนวนหน่วยกิต:

    แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

    (1)วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ   13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก 12 หน่วยกิต(4) วิทยานิพนธ์ 12   หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง และนำวิทยานิพนธ์ที่พิมพ์และเย็บเล่มเรียบร้อยแล้ว มามอบให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบ- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer review) ก่อนการตีพิมพ์หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการฯ

    แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) 

    (1) วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ    13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก  18 หน่วยกิต(4) การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยการข้อเขียน และ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น – นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการนำเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง  – รายงานการค้นคว้าอิสระ หรือ ส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สามารถสืบค้นได้

    ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

    • 22,700 ต่อภาคการศึกษา

    สถานที่ศึกษา:

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

    ติดต่อหลักสูตร:

     รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาศรี เทพรักษา
    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร            

    โทร
    . 084-0751355

      fin.hrfin@gmail.com

     

     

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ สนองรับนโยบาย Thailand 4.0 จากความร่วมมือระหว่าง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สร้างหลักสูตรพันธุ์ใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นนักพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มีทักษะพิเศษด้านการสื่อสารอย่างผู้นำ มีระบบคิดแบบนวัตกรรม มีความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อสร้างบุคลากรทางนวัตกรรมอาหารระดับผู้นำให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในการพัฒนาสินค้านวัตกรรมอาหารได้ตรงความต้องการของลูกค้าและสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้อย่างยั่งยืน

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน
    • นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
    • นักการตลาดอาหาร
    • พนักงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรนวัตกรรมอาหาร

    โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

    นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

    คำอธิบายหลักสูตร

    หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร หลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ สนองรับนโยบาย Thailand 4.0 จากความร่วมมือระหว่าง สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับคณะทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สร้างหลักสูตรพันธุ์ใหม่ ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นนักพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ มีความรู้ ความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มีทักษะพิเศษด้านการสื่อสารอย่างผู้นำ มีระบบคิดแบบนวัตกรรม มีความเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์ เพื่อสร้างบุคลากรทางนวัตกรรมอาหารระดับผู้นำให้แก่อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ในการพัฒนาสินค้านวัตกรรมอาหารได้ตรงความต้องการของลูกค้าและสร้างคุณค่าให้แก่สังคมได้อย่างยั่งยืน

    กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

    • อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน
    • นักพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
    • นักการตลาดอาหาร
    • พนักงานฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรนวัตกรรมอาหาร

    โอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา

    นักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนในสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยชั้นนำต่าง ๆ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ ทั้งในและต่างประเทศ

    หลักสูตรภาษาไทย (วันเสาร์-อาทิตย์) ระบบทวิภาค 
    ระยะเวลา: 2 ปี
    จำนวนรับเข้า: 10 คน

    คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

    1.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารหรือใกล้เคียงจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือสานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือองค์กรที่มีมาตรฐานให้การรับรองและต้องเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา หรือ

    2.สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่งที่นอกเหนือจากข้อ 1 และมีประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร หรือประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปอาหาร ไม่น้อยกว่า 1 ปีหรือ

    3. กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และลงทะเบียนเรียนระดับปริญญาตรีในสาขานั้นๆมาแล้วไม่น้อยกว่า 125 หน่วยกิต

      จำนวนหน่วยกิต:

      แผน ก แบบ ก 2 (ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์)

      (1)วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ   13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก 12 หน่วยกิต(4) วิทยานิพนธ์ 12   หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการสอบวิทยานิพนธ์ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง และนำวิทยานิพนธ์ที่พิมพ์และเย็บเล่มเรียบร้อยแล้ว มามอบให้มหาวิทยาลัยตามระเบียบ- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceeding) อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer review) ก่อนการตีพิมพ์หรือเสนอต่อที่ประชุมวิชาการฯ

      แผน ข (ไม่ทำวิทยานิพนธ์) 

      (1) วิชาเสริมพื้นฐาน(ไม่นับหน่วยกิตรวม)  6 หน่วยกิต(2) วิชาบังคับ    13 หน่วยกิต(3) วิชาเลือก  18 หน่วยกิต(4) การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต- นักศึกษาต้องได้ค่าระดับ P (ผ่าน) ในการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ด้วยการข้อเขียน และ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น – นักศึกษาต้องได้ระดับ S (ใช้ได้) ในการนำเสนอรายงานการค้นคว้าอิสระ โดยการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่งตั้ง  – รายงานการค้นคว้าอิสระ หรือ ส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สามารถสืบค้นได้

      ค่าเล่าเรียนต่อภาคการศึกษา:

      • 22,700 ต่อภาคการศึกษา

      สถานที่ศึกษา:

      คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

      ติดต่อหลักสูตร:

       รองศาสตราจารย์ ดร.ประภาศรี เทพรักษา
      อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร            

      โทร
      . 084-0751355

        fin.hrfin@gmail.com