เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาตรี

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440 ต่อ 2452
 https://biot.sci.tu.ac.th/
Biotechnology Thammasat

เทคโนโลยีชีวภาพ ศาสตร์แห่งการไขความลับและการใช้ประโชน์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น จุดเด่นของเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและมีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจาก หลากหลายวิชา ทั้งการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการหมักและการผลิตสารชีวภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม การคัดเลือกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการปรับปรุง พันธุ์พืช การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับจีโนมของสิ่งมีชีวิตด้วยชีวสารสนเทศศาสตร์

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปสู่กลุ่มของเทคโนโลยีที่ใช้เป็นตัวผลักดัน “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” นักศึกษาจะได้รับความรู้ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวิชาทาง เทคโนโลยีชีวภาพทั้งชีววิทยาพื้นฐานและประยุกต์ โดยมุ่งเน้นทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีชีวสารสนเทศศาสตร์ ดังนั้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่พร้อมก้าวสู่สถานการณ์โลกในปัจจุบันสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้จัดหลักสูตรโดย เน้นการเรียนรู้ การกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การฝึกให้เกิดทักษะการประยุกต์วิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยต่างๆร่วมกับความคิดสร้างสรรค์และการเสริมความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการเพื่อผลิตให้บัณฑิตที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป

นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ในการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่มีความชำนาญพิเศษในหลากหลายสาขาทางเทคโนโลยีชีวภาพในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือเฉพาะสำหรับงานวิจัยขั้นสูง นอกจากนี้ภาควิชายังตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สวทช ซึ่งนักวิจัยในสถาบันก็มีงานวิจัยและความร่วมมือกับอาจารย์ประจำภาควิชาเป็นอย่างดี ดังนั้นนักศึกษาจึงจะได้รับโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยในสถาบันระดับชาติและมีโอกาสที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้ต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการเกษตร ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อาจารย์
  • นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ในหน่วยงานด้านการศึกษาและในภาคอุตสาหกรรม
  • งานควบคุมกระบวนการผลิต
  • งานขายและการตลาด บริษัทจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
  • ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาล และในบริษัทเอกชน
นวัตกรรมจากฐานชีวภาพ สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีชีวภาพ ศาสตร์แห่งการไขความลับและการใช้ประโชน์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น จุดเด่นของเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและมีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจาก หลากหลายวิชา ทั้งการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการหมักและการผลิตสารชีวภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม การคัดเลือกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการปรับปรุง พันธุ์พืช การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับจีโนมของสิ่งมีชีวิตด้วยชีวสารสนเทศศาสตร์

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปสู่กลุ่มของเทคโนโลยีที่ใช้เป็นตัวผลักดัน “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” นักศึกษาจะได้รับความรู้ที่ครอบคลุมทุกกลุ่มวิชาทาง เทคโนโลยีชีวภาพทั้งชีววิทยาพื้นฐานและประยุกต์ โดยมุ่งเน้นทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช เทคโนโลยีชีวภาพอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชีวภาพสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีชีวสารสนเทศศาสตร์ ดังนั้น เพื่อผลิตบัณฑิตที่พร้อมก้าวสู่สถานการณ์โลกในปัจจุบันสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพจึงได้จัดหลักสูตรโดย เน้นการเรียนรู้ การกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ การฝึกให้เกิดทักษะการประยุกต์วิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและทันสมัยต่างๆร่วมกับความคิดสร้างสรรค์และการเสริมความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการเพื่อผลิตให้บัณฑิตที่พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนประเทศไปสู่ประเทศไทย 4.0 ต่อไป

นักศึกษาจะได้รับประสบการณ์ในการทำวิจัยร่วมกับอาจารย์ที่มีความชำนาญพิเศษในหลากหลายสาขาทางเทคโนโลยีชีวภาพในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือเฉพาะสำหรับงานวิจัยขั้นสูง นอกจากนี้ภาควิชายังตั้งอยู่ใกล้กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) สวทช ซึ่งนักวิจัยในสถาบันก็มีงานวิจัยและความร่วมมือกับอาจารย์ประจำภาควิชาเป็นอย่างดี ดังนั้นนักศึกษาจึงจะได้รับโอกาสที่ดีที่จะได้เรียนรู้กระบวนการทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัยในสถาบันระดับชาติและมีโอกาสที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้ต่อยอดในระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้

การฝึกงานหรือสหกิจ

นักศึกษาสามารถฝึกงานและทำสหกิจในองค์กรชั้นนำต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครือข่ายของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ (ฝึกงานเริ่มต้นในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 และสิ้นสุดในภาคเรียนแรกของชั้นปีที่ 4)

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีชีวภาพและเทคโนโลยีการเกษตร ที่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

  • นักวิจัยทางเทคโนโลยีชีวภาพ
  • อาจารย์
  • นักวิจัยและพัฒนา (R&D) ในหน่วยงานด้านการศึกษาและในภาคอุตสาหกรรม
  • งานควบคุมกระบวนการผลิต
  • งานขายและการตลาด บริษัทจำหน่ายเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
  • ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลทางการแพทย์ในโรงพยาบาล และในบริษัทเอกชน
นวัตกรรมจากฐานชีวภาพ สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440 ต่อ 2452
 https://biot.sci.tu.ac.th/
Biotechnology Thammasat