เปลี่ยนภาษา:  English

ปริญญาตรี

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การอาหาร

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440-59 ต่อ 2550
  malee_c@hotmail.com
Food Sci TU

หลักสูตรนี้ได้บูรณาการพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กับความรู้ทางเทคโนโลยีเฉพาะทางอาหาร เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการดูงานและฝึกงานในหน่วยงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้น้องๆ ได้รับประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาฯ ที่พร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีหลากหลายวิชาให้เรียน  เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติได้จริง รวมถึงสามารถต่อยอดผลงานวิจัยให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย

1.ศึกษาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2.วิชาบังคับในสาขาได้แก่  การแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร  เคมีอาหาร วิศวกรรมอาหาร กฎหมายและมาตรฐานอาหาร โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์อาหารเบื้องต้น  การตลาดอาหาร

3.วิชาบังคับนอกสาขา เช่น วิชาการประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Entrepreneurship)

4.วิชาเลือกในสาขา เช่น เทคโนโลยีผลิต เช่น เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ประมงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ อาหารเสริมสร้างสุขภาพ อาหารหมัก ขนมอบ ขนมไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทักษะการเริ่มต้นธุรกิจอาหาร

5.นักศึกษาได้มีโอกาสเดินทางไปฝึกงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างประสบการณ์การทำงาน เป็นเวลา 300 ชั่วโมง

บัณฑิตที่จบจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีความรอบรู้ มีกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กับพื้นฐานทางธุรกิจ สามารถประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ บัณฑิตได้เรียนรู้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและฝึกปฏิบัติจนชำนาญ ทำให้มีความพร้อมทั้งการทำงานในระดับโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษาต่อเพิ่มเติมหรือการสร้างธุรกิจของตนเอง

การฝึกงานหรือสหกิจ

จะฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางอาหารหรือสถาบันวิจัยในต่างประเทศ ในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 เป็นระยะเวลา 1.5 – 2 เดือน

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

หลักสูตรนี้มีอาชีพรองรับจำนวนมาก ได้แก่

  • หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมปศุสัตว์ สหกรณ์โคนม กรมการข้าว สถาบันวิจัยและพัฒนาอาหาร เป็นต้น
  • หน่วยงานเอกชน ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการอาหาร
  • ศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารวิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการ เป็นต้น

ทฤษฏีลึก ปฏิบัติเด่น นวัตกรรมเน้น ผันเป็นผู้ประกอบการ ยกคุณภาพอาหารได้มาตรฐานสากล

หลักสูตรนี้ได้บูรณาการพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กับความรู้ทางเทคโนโลยีเฉพาะทางอาหาร เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการดูงานและฝึกงานในหน่วยงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้น้องๆ ได้รับประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาฯ ที่พร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

คำอธิบายหลักสูตร

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีหลากหลายวิชาให้เรียน  เพื่อเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติได้จริง รวมถึงสามารถต่อยอดผลงานวิจัยให้กว้างขวางเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วย

1.ศึกษาวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

2.วิชาบังคับในสาขาได้แก่  การแปรรูปอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร  เคมีอาหาร วิศวกรรมอาหาร กฎหมายและมาตรฐานอาหาร โลจิสติกส์ บรรจุภัณฑ์อาหารเบื้องต้น  การตลาดอาหาร

3.วิชาบังคับนอกสาขา เช่น วิชาการประกอบการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Entrepreneurship)

4.วิชาเลือกในสาขา เช่น เทคโนโลยีผลิต เช่น เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์นม ผลิตภัณฑ์ประมงผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ อาหารเสริมสร้างสุขภาพ อาหารหมัก ขนมอบ ขนมไทย การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ทักษะการเริ่มต้นธุรกิจอาหาร

5.นักศึกษาได้มีโอกาสเดินทางไปฝึกงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งในและต่างประเทศเพื่อสร้างประสบการณ์การทำงาน เป็นเวลา 300 ชั่วโมง

บัณฑิตที่จบจากสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมีความรอบรู้ มีกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กับพื้นฐานทางธุรกิจ สามารถประยุกต์ความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดเชิงพาณิชย์ บัณฑิตได้เรียนรู้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารและฝึกปฏิบัติจนชำนาญ ทำให้มีความพร้อมทั้งการทำงานในระดับโรงงานอุตสาหกรรม การศึกษาต่อเพิ่มเติมหรือการสร้างธุรกิจของตนเอง

การฝึกงานหรือสหกิจ

จะฝึกงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางอาหารหรือสถาบันวิจัยในต่างประเทศ ในภาคฤดูร้อนของชั้นปีที่ 3 เป็นระยะเวลา 1.5 – 2 เดือน

การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น

สามารถศึกษาต่อในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่คณะวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี ม.ธ. หรือสถาบันการศึกษาชั้นนำอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ

กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา

หลักสูตรนี้มีอาชีพรองรับจำนวนมาก ได้แก่

  • หน่วยงานราชการ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมปศุสัตว์ สหกรณ์โคนม กรมการข้าว สถาบันวิจัยและพัฒนาอาหาร เป็นต้น
  • หน่วยงานเอกชน ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายบรรจุภัณฑ์ ฝ่ายควบคุมคุณภาพ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ เป็นต้น
  • ประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการอาหาร
  • ศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารวิศวกรรมอาหาร วิศวกรรมอุตสาหการ การจัดการ เป็นต้น

ทฤษฏีลึก ปฏิบัติเด่น นวัตกรรมเน้น ผันเป็นผู้ประกอบการ ยกคุณภาพอาหารได้มาตรฐานสากล

ภาษาไทย ภาคปกติ
ระยะเวลา: 4 ปี
จำนวนรับเข้า: 60 คน

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าศึกษา:

  • ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สายสามัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 22 หน่วยกิต กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติม รวมกันไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิต:

  • จำนวนหน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า    138 หน่วยกิต
    • วิชาศึกษาทั่วไป                   30 หน่วยกิต 
    • วิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า            102 หน่วยกิต
    • วิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า          6 หน่วยกิต

ค่าเล่าเรียน:

  • ภาคการศึกษาละ 17,300 บาท (เหมาจ่าย)

สถานที่ศึกษา:

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ติดต่อหลักสูตร:

  02-564-4440-59 ต่อ 2550
  malee_c@hotmail.com
Food Sci TU