🎉ขอแสดงความยินดี กับ รศ.ดร.สุภกร บุญยืน และคณะฯ ได้รับรางวัลเหรียญทองและเหรียญเงิน จากการประกวด
ในงาน “INNOVERSE Invention & Innovation Expo 2022”
ระหว่างวันที่ 22 – 24 กรกฎาคม 2565 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในรูปแบบออนไลน์
.
.
รางวัลเหรียญทอง
ชื่อผลงาน ฟีโอร่า เอช วัน (Feora H1)
โดย รศ.ดร.สุภกร บุญยืน และคณะฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในโรคที่สำคัญกลุม NCD ซึ่งประกอบด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน มะเร็ง และ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น COVID-19 โรคเบาหวาน เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆตามมาเช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท โรคหัวใจวาย รวมถึงเพิ่มโอกาสการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา เพื่อป้องกัน โรคเบาหวาน เราจำเป็นต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับปกติ หยุดสูบบุหรี่ รับประทานอาหารที่เหมาะสม รวมถึงการออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ FEORA H1 เป็นอาหารเสริมที่มีส่วนประกอบของ cell matrix ควอซิทิน และ สารประกอบที่ช่วยสร้าง สเต็มเซล cell matrix ซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ cell matrix เมลาโทนิน และ cell matrix โครเมียม และสารประกอบของขิง ด้วยส่วนผสมที่ลงตัวจึงทำให้การบริโภคอาหารเสริมนี้เพียงเล็กน้อยแต่จะสามารถทำงานได้ดีในระดับเซลล์ ทั้งนี้เพราะการนำส่งที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และลดภาวการณ์เกิดสารพิษในร่างกาย ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภค ที่ได้รับ FEORA H1 อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 45- 60 วัน จะมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดระดับลง และลดอัตราการเกิดน้ำตาลกลูโคลสไปเกาะบนฮีโมโกลบิน จึงทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน อาหารเสริมดังกล่าวได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อย โดยสารสำคัญที่ใช้งานเป็นสารธรรมชาติ ผู้บริโภคให้การตอบรับดีมาก
.
.
รางวัลเหรียญเงิน
ชื่อผลงาน สารประกอบทองคำ พอร์ไพริน กับการยับยั้งเซลล์มะเร็งเต้านม Gold(III) porphyrin complexes and their derivative in breast cancer cells
โดย รศ.ดร.สุภกร บุญยืน และคณะฯ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สารประกอบ ทองคำ(III) [Au(III)] มีฤทธิ์ ในการต้านมะเร็ง ในการวิจัยนี้ได้ทำการสังเคราะห์สารประกอบของทองคำที่มีหมู่แทนนที่แตกต่างกัน และได้ทำการตรวจสอบด้วยเทคนิคทางเคมีต่างๆ รวมถึงได้ทำการทดสอบฤทธิ์ในการ ยิ่งไปกว่านั้น ในการทดสอบฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ถูกทำการทดสอบโดยใช้สาร 3-(4,5-dimethylthiazol-2-yl)-2,5-diphenyltetrazolium bromide เพื่อติดตามการยับยั้งการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็งเต้านม MCF7 พบว่า with 5,10,15,20-tetraphenylporphyrin (AuTPP) และ 5,10,15,20-tetrakis(4-methyloxyphenyl)porphyrin (AuTOMPP) แสดงการยับยั้งได้ดีที่สุด โดยให้ค่า IC50 เป็น 4.30 และ 25.35 ไมโครโมลล่า ตามลำดับ สำหรับการตรวจหาความเป็นพิษต่อเซลล์ปกติ ได้ทดสอบใช้เซลล์ของ ไตลิง พบว่า สารประกอบทุกตัวไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ ทั้งนี้สามารถพัฒนาต่อยอดเพื่อใช้เป็นยาได้ในอนาคต
.