เปลี่ยนภาษา:  English

เรียนที่ SCI-TU

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดการเรียนการสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรีทั้งหมด  22 หลักสูตร ซึ่งครอบคลุมทั้งหลักสูตรลงลึกเนื้อหาเข้มข้นสายวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ หลักสูตรสายวิทยาศาสตร์ประยุกต์เทคโนโลยีเน้นการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้แก่สังคมอย่างเป็นรูปธรรม หรือหลักสูตรบูรณาการหลายศาสตร์เพื่อการสร้างนวัตกรรมก่อเกิดมูลค่าเชิงพาณิชย์ ซึ่งในแต่ละหลักสูตรมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้มีเนื้อหาและเทคโนโลยีสนับสนุนที่ทันสมัย และตอบสนองต่อความต้องการของสังคมทั้งในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม

หลักสูตรต่างๆ ของคณะฯ ในระดับปริญญาตรีประกอบด้วยหลักสูตรภาษาไทย และหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการพิเศษ ได้แก่ หลักสูตรปริญญาตรีควบโท  และหลักสูตรพันธุ์ใหม่ ซึ่งล้วนดำเนินการจัดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญและเพียบพร้อมด้วยประสบการณ์ในวิทยาการด้านต่างๆ มีรายวิชาให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้และเตรียมพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพ และมีรายวิชาที่เสริมสร้างการเป็นบัณฑิตยุคสมัยใหม่ ในด้านกระบวนการทางความคิดและทักษะการเรียนรู้ที่มาพร้อมกับความรับผิดชอบและความสำนึกในหน้าที่ของสมาชิกที่ดีในสังคมอีกด้วย 

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์

หลักสูตรคณิตศาสตร์มีเนื้อหาในเชิงทฤษฏีอันเป็นรากฐานของสาขาวิชาอื่น ๆทางด้านวิทยาศาสตร์ ฝึกให้ผู้เรียนมีความคิดเป็นเหตุเป็นผล มีทักษะกระบวนการใน การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์

คณิตศาสตร์ประยุกต์ คือ สะพานเชื่อมระหว่างหลักการเชิงทฤษฎีและการนำไปใช้ทำงานจริงได้ ซึ่งประกอบด้วย การจำลองเชิงคณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์การจัดการ และคณิตศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ

ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางทฤษฎีและด้านการประยุกต์ทางสถิติกับงานด้านต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง มีความสามารถด้านการจัดการข้อมูล การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย รวมถึงมีความคิดที่เป็นระบบ มีการตัดสินใจโดยใช้หลักการและเหตุผล ที่จะนำไปใช้ในการทำงานภายใต้โลกแห่งการใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (คณิตศาสตร์การเงิน) (ภาคพิเศษ)

คณิตศาสตร์การเงินเป็นหลักสูตรที่เน้นการประยุกต์ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อการเงิน โดยปกติจะเป็นการวิเคราะห์ตลาด การกำหนดราคาและการวางแผนทางการเงิน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (สถิติประยุกต์) (ภาคพิเศษ)

เน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการประยุกต์ สามารถประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ตามหลักทฤษฎีทางสถิติ ผู้เรียนจะได้ทักษะการคิดและจัดการกับข้อมูล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์การจัดการ (ภาคพิเศษ)

คณิตศาสตร์การจัดการเป็นหลักสูตรที่ผสมผสานหลักการทางด้านคณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ เข้ากับกระบวนการทางด้านการจัดการ โดยเน้นประยุกต์การเรียนการสอนในทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 เพื่อผลิตบัณฑิตที่สามารถคิดวิเคราะห์ จัดระบบ เชื่อมโยงข้อมูล วิเคราะห์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ การจำลองสถานการณ์ การพยากรณ์ การวางแผนและตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมที่สุด

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการประกันภัย (ภาคพิเศษ)

หลักสูตร 3 ปีครึ่ง บูรณาการคณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ และการจัดการความเสี่ยง ได้ฝึกงาน ทำโครงงาน และเรียนกับอาจารย์พิเศษจากภาคธุรกิจประกันภัย และมีวิชาหลักเพื่อการสอบวัดระดับกับ SOA เช่น Exam P, Exam FM

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี

เคมีเป็นสาขาวิชาที่ผสมผสานความรู้ด้านเคมีบริสุทธ์และเคมีประยุกต์เข้าด้วยกันทำให้เกิดผลงานวิจัยที่เป็นรูปธรรมสามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ ด้วยองค์ความรู้และคุณภาพของอาจารย์ในหลากหลายด้าน รวมทั้งยังมีความร่วมมือทั้งในประเทศ และต่างประเทศ มีโครงการแลกเปลี่ยนทั้งนักศึกษาและบุคลากรอย่างต่อเนื่อง ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพและการแปรรูปเคมีชีวภาพ (ภาคพิเศษ)

หลักสูตรนี้เรียนรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ผ่านการเรียนรู้แบบบูรณาการใน 3 สาขาวิชา คือ เทคโนโลยีชีวภาพ เคมี และพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงยังมีโอกาสได้ฝึกประสบการณ์กับสถานประกอบการจริงเป็นเวลา 1 ปีการศึกษา เพื่อให้ได้ทักษะการแก้ปัญหากระบวนการผลิตในโรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สู่การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพของไทย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ

เทคโนโลยีชีวภาพ ศาสตร์แห่งการไขความลับและการใช้ประโชน์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและโลกใบนี้ให้ดียิ่งขึ้น จุดเด่นของเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คือ การสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ในการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมทางเทคโนโลยีชีวภาพและมีความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการ ผ่านกระบวนการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการจาก หลากหลายวิชา ทั้งการใช้จุลินทรีย์ในกระบวนการหมักและการผลิตสารชีวภัณฑ์ในระดับอุตสาหกรรม การคัดเลือกการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการปรับปรุง พันธุ์พืช การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์จากของเหลือทิ้งทางการเกษตรและอุตสาหกรรม รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลในระดับจีโนมของสิ่งมีชีวิตด้วยชีวสารสนเทศศาสตร์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์

ความเข้าใจในฟิสิกส์รากฐานจะทำให้เรามองเห็นความสวยงามของธรรมชาติในจักรวาลที่เราอาศัยอยู่ และเรียนรู้การดำรงอยู่ของตนเองในโลกอันน่าอัศจรรย์แห่งนี้ การเรียนฟิสิกส์จะครอบคลุมตั้งแต่การเคลื่อนที่ของวัตถุขนาดใหญ่ เช่น ดวงดาว คลื่นในธรรมชาติ ความยุ่งเหยิงจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า จนถึงปรากฎการณ์จากวัตถุที่เล็กที่สุด เช่น อะตอม ซึ่งองค์ความรู้เหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกสมัยใหม่ นอกจากนี้ ยังมีการเรียนรู้ทักษะการเขียนโปรแกรม การแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น และการเป็นผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยี ผ่านมุมมองและการทำโครงงานด้านฟิสิกส์ ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์

หลักสูตรฟิสิกส์อิเล็กทรอนิกส์ที่แรกและมีแห่งเดียวใน ประเทศไทยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะระดับสูง สามารถสร้างงานวิจัย นวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยมุ่งเน้นให้สามารถพัฒนาระบบเซนเซอร์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับต่อการเติบโตของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 10 กลุ่มอุตสาหกรรม (S-curve) ซึ่งจะเห็นได้ว่านวัตกรรมของระบบเซนเซอร์จะเข้าไปรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายได้เกือบทุกอุตสาหกรรม ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร

ศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการเกษตร ที่เน้นทางด้านเทคโนเลยีการผลิตพืช เทคโนโลยีการผลิตสัตว์ การจัดการดินและการอารักขาพืช โดยนักศึกษาจะได้รับความรู้ และสามารถใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อพัฒนางานวิจัยทางด้านการเกษตร หรือประยุกต์ใช้ในการประกอบธุรกิจทางการเกษตร ซึ่งหากน้อง ๆ เรียนจบจะสามารถประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นักวิชาการเกษตร นักส่งเสริมการเกษตร นักวิจัย อาจารย์ พนักงานในบริษัทเอกชนทางด้านการเกษตร รวมถึงเจ้าของกิจการด้านการเกษตร

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งสาขาที่โดดเด่นของคณะวิทย์ฯ มธ. มีการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการสิ่งแวดล้อมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ มลพิษทางอากาศ เสียง และความสั่นสะเทือน การจัดการขยะ การจัดการสารพิษ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หากเรียนจบสามารถทำงานด้านสิ่งแวดล้อมทุกด้าน บอกเลยว่ามีงานของทั้งภาครัฐและเอกชนรองรับแน่นอน เพราะปัจจุบันประเทศไทยขาดบุคลากรและนักวิเคราะห์วิจัยด้านสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน

สหวิทยาการ สร้างสรรค์นวัตกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ

หลักสูตรมีความทันสมัยด้วยแนวคิด SCI+BUSINESS เรียนสาขานี้รับรองว่ามีงานรองรับแน่นอนและสามารถเป็นผู้ประกอบหรือเจ้าของธุรกิจได้ โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสิ่งทอของอาเซียน มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของชาติ สร้างรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) จำนวนมหาศาล

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

วัสดุศาสตร์เป็นวิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ ศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางโครงสร้าง การผลิต และสมบัติของวัสดุ นอกจากนี้วัสดุศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านวัสดุและนวัตกรรมด้าน วัสดุก่อสร้าง เซรามิก โลหะ แก้ว พอลิเมอร์ วัสดุทางการแพทย์ วัสดุนาโน อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์และวิทยาการสารสนเทศ)

ใครที่ชื่นชอบทางด้านเทคโนโลยี ต้องถูกใจหลักสูตรนี้อย่างแน่นอน ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรม และแอปพลิเคชันครบทั้งกระบวนการ การออกแบบและดูแลระบบสารสนเทศและเครือข่ายเรียนรู้ถึงพื้นฐานของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์อย่างเข้มข้นเพื่อนำไปต่อยอดเป็นระบบ AI หรือ Data Science กระบวนการซอฟต์แวร์และการพัฒนาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีสายงานใหม่เหมาะกับกลุ่ม Gen Z อย่าง UI/UX ที่ประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์และหลักการตลาด เพื่อออกแบบระบบหรือผลิตสื่อเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ตรงใจผู้ติดตามทั้งหลาย ทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงมากในทุกวงการ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์ประยุกต์) (ภาคพิเศษ)

หลักสูตรที่สอนเกี่ยวกับ ‘คอมพิวเตอร์ประยุกต์’ ที่เน้นเรียนหลักการทางวิทยาการคอมพิวเตอร์แบบกระชับเช่นเดียวกับเอกเทคโนโลยีการเรียนรู้ เพื่อปูพื้นฐานความรู้ โดยเน้นการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ที่ตลาดแรงงาน IT ต้องการ ซึ่งจำเป็นต้องมีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ทันที โดยจะมีวิชาที่เน้นให้พร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม ทั้งหลักการวางแผนและการจัดการซอฟต์แวร์ Tester, Network & System Admin, Data Scientist หรือวิทยาการข้อมูล รวมถึงนักบริหารจัดการสารสนเทศในองค์กร ซึ่งเน้นไปที่การฝึกทักษะในการปฏิบัติงานจริง ผู้เรียนจะมีโอกาสได้ใบประกาศนียบัตรรับรองความสามารถในด้านต่างๆ ให้เป็นที่ยอมรับในสายงานนั้น ๆ อีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (เทคโนโลยีการเรียนรู้) (ศึกษาที่ มธ. ศูนย์ลำปาง)

หลักสูตรนี้ฉีกกรอบวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีอัจฉริยะที่สอดรับกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีทักษะพิเศษในการผสานเทคโนโลยีอัจฉริยะเข้าสู่การเรียนรู้และใช้ชีวิตของคนแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรเน้นการพัฒนาฝีมือการวิเคราะห์และแก้ปัญหาด้วยการใช้เครื่องมือระดับเดียวกับมืออาชีพ การฝึกออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์บนเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ไอโอที, อุปกรณ์สวมใส่และระบบผสมผสาน ในวิธีที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของมนุษย์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

หลักสูตรนี้ได้บูรณาการพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ควบคู่กับความรู้ทางเทคโนโลยีเฉพาะทางอาหาร เสริมประสบการณ์เรียนรู้จากการดูงานและฝึกงานในหน่วยงานหรือโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้น้องๆ ได้รับประสบการณ์ตรงในสาขาวิชาฯ ที่พร้อมทั้งความรู้และประสบการณ์ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมทางอาหาร

Food Science and Innovation หรือที่เรียกกันว่า FIN เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารสายพันธุ์ใหม่ ที่มุ่งเน้นให้น้องๆ สามารถเป็นนักนวัตกรรมทางอาหารที่รู้ลึก รู้จริง ลงมือปฏิบัติจริง แก้ไขปัญหาได้จริง ผ่านการฝึกฝนในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อสร้างบุคลากรที่ตอบโจทย์ภาคการผลิตด้านอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร สามารถบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีการอาหารกับศาสตร์อื่นๆได้อย่างเหมาะสม
ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้นนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และฝึกกระบวนการคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับเริ่มต้นธุรกิจอาหารอีกด้วย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม